สยามสันติวิถีในการสร้างความปรองดอง

Main Article Content

พระวินัยธรอเนก เตชวโร

บทคัดย่อ

สันติวิถีแห่งสยามในวรรณคดีเช่นเรื่อง เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนมีคุณค่าทางวรรณคดีในด้านต่างๆ ทั้งในเนื้อหาสาระของเรื่องโดยตรง และคุณค่าซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ความนึกคิด ค่านิยม และสภาพความเป็นอยู่ของชาวไทยโดยทั่วไปในอดีต ดังนั้นการวิเคราะห์ วิถีพุทธเรื่องนี้ จึงกล่าวถึงลักษณะสังคม ค่านิยมของสังคม ที่ปรากฏในอดีตโดยใช้วิชาสังคมวิทยาเข้าช่วยในการศึกษาและกล่าวถึงการปกครอง และความสำคัญของพุทธศาสนาในสังคมไทยในอดีตด้วย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกอยู่ในวรรณคดีมีอยู่มากมาย แต่คำสอนที่สำคัญที่คนส่วนใหญ่ยอมรับและนำไปปฏิบัติในวิถีชีวิตจริงก็คือเรื่องกรรมและไตรลักษณ์ โดยมีความเชื่อว่า การเวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายในสังสารวัฏ เป็นไปด้วยอำนาจกรรม วิถีชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ในโลกนี้จะต้องดำเนินไปตามหลักไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ทุกขัง ความเป็นทุกข์ และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนที่ไม่สามารถจะบังคับได้ หลักดังกล่าวสามารถนำมาสร้างความปรองดองในสังคมโลกได้แบบไตรลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. (2505). ขุนช้างขุนแผน. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.
กรมศิลปากร. (2513). เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2533). ท้าทายทางเลือก: ความรุนแรง และการไม่ใช่ความรุนแรง. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). การศึกษาเพื่อสันติภาพ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). สันติภาพเกิดจากอิสรภาพและความสุข. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). มองสันติภาพโลก ผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). สลายความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
Francis A. B. (1981). Peace Again War: The Ecology of International Violence. San Francisco: W.H. Freeman and Company.