ภาวนาเสวนา: การบูรณาการเพื่อจัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์

Main Article Content

เบญจวรรณ วงศ์ชูแก้ว

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการจัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ในเชิงสร้างสรรค์ด้วยสันติวิธี   “สานเสวนา” เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้จัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ตามทฤษฎีตะวันตก ด้วยวิธีการเปิดใจรับฟังอย่างลึกซึ้ง ยอมรับและทำความเข้าใจในความแตกต่างเพื่อหาทางออกร่วมกัน ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าพฤติกรรมที่แสดงออกมาภายนอกนั้นมีจิตใจเป็นจุดเริ่มต้น  สันติภาพภายนอกจะเกิดขึ้นได้ต้องเริ่มจากสันติภาพภายในตัวบุคคลก่อน  ด้วยการพัฒนาตนเองตามหลักไตรสิกขาเพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการแห่งเจตจำนง  ให้เป็นไปในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  "ภาวนาเสวนา"เป็นรูปแบบการอบรมจิตภาวนาตามหลักพระพุทธศาสนาแบบมีปฏิสัมพันธ์  ที่นำรูปแบบการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนามาใช้ร่วมกับหลักธรรมในการสร้างความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อันได้แก่ พรหมวิหารธรรม, สาราณียธรรม และสังคหวัตถุ มาบูรณาการร่วมกับการสานเสวนาเพื่อวัตถุประสงค์ในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ซึ่งผลจากการวิจัยพบว่าการบูรณาการภาวนาเสวนาเพื่อจัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่เหมาะสมและสอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมและศาสนาในสังคมไทย   และสามารถเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของสันติวิธีเชิงพุทธในการจัดการความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์เพื่อสร้างสังคมแห่งสันติสุข   และในขณะเดียวกันเป็นการพัฒนาคนในสังคมให้เจริญงอกงามตามวิถีของพระพุทธศาสนาไปด้วยอย่างสอดคล้องกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จอห์น แม็กซ์เวลล์. (2548). กลยุทธรู้ใจคน. แปลโดย อิทธิพน เรืองศรี. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.
ชัยวัฒน์ สถาอานนท์. (2539). สันติทฤษฎี/วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
ธนา นิลชัยโกวิทย์ และอดิศร จันทรสุข. (2552). ศิลปะการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง : คู่มือกระบวนกรจิตตปัญญา. กรุงเทพฯ: เอส.พี.เอ็น การพิมพ์.
บุญยิ่ง ประทุม.(2551). สานเสวนา แก้ปัญหาวิกฤติการเมืองและสังคมได้จริงหรือ?. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เนชั่น.
ปาริชาด สุวรรณบุบผา. (2553). คู่มือการจัดกระบวนการสานเสวนา. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 36). กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2554). พุทธสันติวิธี : การบูรณาการหลักการและเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
โยฮัน กัลตุง. (2550). การแปลงเปลี่ยนขับเคลื่อนความขัดแย้งด้วยสันติวิธี. แปลโดย เดชา ตั้งสีฟ้า. กรุงเทพฯ: คบไฟ.
วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
ทะไลลามะ. (2538). อิสรภาพในการลี้ภัย. แปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น.
Folger et al. ( 1990). Working Through Conflict. New York: Addison Wesley Longman.
Kramer, G. (2007). Insight Dialogue: The Interpersonal Path to Freedom. Boston: Shambala Publications.
Kramer, G et al. ( 2008). Mindfulness and the Therapeutic Relationship. New York: Guilford Press.
Webster, M. (1993). Webster’s Tenth New Collegiate Dictionary. Revised edition. New York: Merriam Webster.
Weaver, G.R. (2000). Culture, Communication and Conflict. (2nd ed.). Boston: Pearson Publishing.