นวัตกรรมการจัดการธุรกิจเพื่อสังคมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

Main Article Content

ศิรินทิพย์ กุลจิตรตรี
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ

บทคัดย่อ

ผู้ประกอบการใหม่และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศไทยทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ในปัจจุบันความสามารถเชิงนวัตกรรมเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างความสำเร็จด้านการลงทุนใหม่ ๆ เป็นเครื่องมือทางการแข่งขันที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของธุรกิจ มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจึงควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการดำเนินงานทางธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น รวมทั้งมีโอกาสทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น การปรับตัวไม่เท่าทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในยุคดิจิทัล ที่เทคโนโลยีกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดต้นทุนการผลิต อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการที่จะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างไร้พรมแดน นวัตกรรมการจัดการธุรกิจเพื่อสังคมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องคำนึงถึงระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีการติดต่อสื่อสาร การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การโลจิสติกส์ การศึกษา การเกษตรกรรม การอุตสาหกรรม การเงินการลงทุน การภาษีอากร หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม หรือการใดๆ ที่มีกระบวนการดำเนินงานทางดิจิทัลหรือทางอิเล็กทรอนิกส์ การตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยให้สามารถเติบโตอยู่รอดได้ โดยเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมในการเกื้อกูลกันระหว่างธุรกิจด้านดิจิทัล เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ภายในประเทศ สร้างโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็ก เนื่องจากเป็นกลุ่มวิสาหกิจที่เปรียบเหมือนกระดูกสันหลังของประเทศ รวมถึงเตรียมความพร้อมด้วยการยกระดับธุรกิจด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำพาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Article Details

How to Cite
กุลจิตรตรี ศ. ., & คำสามารถ ส. (2020). นวัตกรรมการจัดการธุรกิจเพื่อสังคมในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 4(3), 217–232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247177
บท
บทความวิชาการ

References

ระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579). กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม.

จตุพร ชาญเลขา (2560). การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล. ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Information Center) กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกระทรวงพาณิชย์. ค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2563 จาก https://www.bangkokbanksme.com

วารุณี กุลรัตนาวิจิตรา. (2560). ปัจจัยด้านนวัตกรรมทางธุรกิจส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ประเภทบริการ)(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตฤตณัย นพคุณ และ มณฑ์ชนก มณีโชติ (2559). เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) กับอนาคตประเทศไทย. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, 53(2), 2-10.

สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. (2561). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2563). บทวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจดิจิทัลประเทศไทย. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2563 จากhttps://www.depa.or.th/th/article-view/thailand -digital-economy-glance

สุชาติ ไตรภพสกุล และสหัทยา ชูชาติพงษ์. (2557). แบบจำลองการพัฒนาสังคมความเป็นผู้ประกอบการและนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารนักบริหาร, 34(2), 26-36