พุทธวิธีในการวางแผนบริหารองค์การเพื่อความสันติสุข
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวางแผนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้การบริหารงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและความอยู่รอดขององค์การ เพราะการวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นกระบวนการกำหนดพันธกิจ เป้าหมาย และแผนงานเพื่อให้องค์การปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลตามที่ประสงค์ไว้ การวางแผนจึงเป็นภารกิจอันดับแรกที่มีความสำคัญต่อกระบวนการการจัดการที่ดีซึ่งการวางแผนเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันคาดการณ์ไปล่วงหน้าและเป็นการกำหนดแนวทางที่คาดว่าน่าจะดีที่สุด เป็นการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายในองค์การ เพื่อค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง และจุดด้อยหรือจุดอ่อน ในขณะเดียวกันก็จะวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมภายนอก เพื่อค้นหาโอกาส และอุปสรรค โดยผ่านกระบวนการคิดก่อนทำเพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างได้ผล การวางแผนจึงเป็นความพยายามที่เป็นระบบเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทางในการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับอนาคตอันจะทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอ
พุทธวิธีการวางแผนบริหารองค์การ ก็เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
Article Details
References
เทพพนม เมืองแมน และคณะ. (2540). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พระครูศรีธรรมวรภรณ์. (2562). การประยุกต์ไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 13-24.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญมี มาลาวชิโร. (2553). พุทธบริหารสู่สุดยอดนักบริหารผู้ทรงภูมิที่ลูกน้องรักและเทิดทูนอย่างจริงจัง. กรุงเทพฯ: ธิงค์ บิยอนด์บุ๊คส์.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การ และการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
วันชัย มีชาติ. (2554). การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2553). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พรินท์.