การวิเคราะห์ความคาดหวังและความพึงใจของสถานศึกษาที่มีต่อ จุลสารของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

มนัสวี ศรีนนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาจุลสาร นวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จำนวน 220 ชุด สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 54.1 อยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 62.2 และอยู่ในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 52.0 ประเภทของการรับสาร ส่วนใหญ่เคยอ่านจุลสาร คิดเป็นร้อยละ 52.0 และส่วนใหญ่เป็นฉบับเดิม คิดเป็นร้อยละ 68.4 ส่วนความถี่ในการอ่าน ส่วนใหญ่จะอ่านบางฉบับ คิดเป็นร้อยละ 87.8  แหล่งรับจุลสาร ทางไปรษณีย์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.2 วัตถุประสงค์ในการอ่านจุลสารมากกว่าเท่ากับ 3 ข้อ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.5 ส่วนระดับความคาดหวังและความพึงพอใจ ในส่วนองค์ประกอบทางกายภาพของรูปเล่ม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.43 และการวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญ พบว่า องค์ประกอบด้านเนื้อหาของรูปเล่ม มีความสำคัญความต้องการจำเป็น (PNI Modified) สูงสุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.011

Article Details

How to Cite
ศรีนนท์ ม. . (2020). การวิเคราะห์ความคาดหวังและความพึงใจของสถานศึกษาที่มีต่อ จุลสารของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(3), 139–148. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247015
บท
บทความวิชาการ

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัญญรัตน์ มังคุด. (2555). การเปิดรับการใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจจากนิตยสารประเภทบันเทิงเกาหลีของนักเรียนหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศาสตร์, 4(3), 62-76.
สิริกาญจน์ ยอดบุรีและคณะ. (2555). โครงการความพึงพอใจและความคาดหวังของบุคลากรที่มีต่อการใช้บริการเว็บไซต์และจุลสารของกองประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ กองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอกชัย โถเหลือง. (2546). การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ์ของสื่อสิ่งพิมพ์ทางการศึกษาบนจอคอมพิวเตอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาครุศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
อริยา คูหา. (2546). แรงจูงใจและอารมณ์. สงขลา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Mc Quail, D. (1999). Media Performance: Mass Communication and the Public Interest. SAGE: London.
Reitz, Joan M. (2011). ODLIS Online Dictionary for Library and Information Science. ABC-CLIO http://www.abc-clio.com/ODLIS/odlis_h.aspx.
Vroom, V. H. (1990). Manage people not personnel: Motivation and performance appraisal. Boston: Harvard Business School Press.