การศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวไทยที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภาคภาษาจีนของวัดม่วง จังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

นัฐพร ขอผึ้ง
ภูเทพ ประภากร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววัดม่วงให้แก่นักเที่ยวชาวจีนและชาวไทยที่มีความรู้ทางด้านภาษาจีน 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวไทยต่อการใช้สื่อประชาสัมพันธ์วัดม่วง กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีน จำนวน 10 คน และนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีความรู้ทางด้านภาษาจีน จำนวน 10 คน โดยเป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมาท่องเที่ยวที่วัดม่วง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจสื่อประชาสัมพันธ์โดยกำหนดเนื้อหาแบบประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการเผยแพร่ ด้านการออกแบบ และด้านประโยชน์การใช้สื่อ หลังจากนั้นนำผลการตอบแบบสอบถามมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
แปลความหมายของค่าเฉลี่ยรายข้อ รายด้านและหาค่าเฉลี่ยในภาพรวม พบว่าความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.45) ความพึงพอใจทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.28) ความพึงพอใจทางด้านการเผยแพร่อยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.60) ความพึงพอใจทางด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก (𝑥̅=4.43) และความพึงพอใจทางด้านประโยชน์การใช้สื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.53)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทยช่วงเดือนมกราคมถึงกันยายน. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/news/category/706

ชัญญา พิริยวานิช และรวิภา ธรรมโชติ. (2565). องค์ประกอบความสำเร็จของการท่องเที่ยวเมืองรอง. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 6(2), 68-79.

บุษบา หมีเงิน และกุลกนิษฐ์ ทองเงา. (2566). การพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบแผ่นพับและโปสเตอร์ผสมผสานร่วมกับ QR code และสื่อวีดิทัศน์ เพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในเขตเทศบาลตำบลบางพลี อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(2), 251-263.

ราตรี เอียมประดิษฐ์, กาญจนา ส่งสวัสดิ์ และกนกพร ยิ้มนิล. (2565). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดอ่างทอง. พระนครศรีอยุธยา: คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา.

พัชรา วาณิชวศิน. (2558). ศักยภาพของอินโฟกราฟิกส์ (Infographic) ในการเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(ฉบับพิเศษ), 227-240.

พงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2557). การออกแบบอินโฟกราฟิกแอนิเมชันเพื่อการเรียนการสอน. วารสารวิชาการศิลปะและสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5(2), 119-135.

เมธาวิน สาระยาน. (2564). การสร้างสรรค์สื่อวีดิทัศน์เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านในดง อำเภอท่ายางจังหวัดเพรชบุรี. วารสารนิเทศศาสตร์ มสธ. 11(1), 1-12.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง. (2564). 10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดอ่างทอง. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก http://www.angthong.go.th/2564/travel_top/detail/1/data.html

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2566). SCB EIC ปรับประมาณการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ปี 2023. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2566, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/file/product/8820/gi9bewtdcy/SCB-EIC_In-Focus_Foreign-tourist_20230215.pdf

อนุชา กลมเกลี้ยง, ณัฐวิทย์ คงศรีชาย, ธรรมรัตน์ จรูญชนม์, ฤทธิรัตน์ ดารารัตน์ และศิริชัย รัศมีแจ่ม. (2565). การออกแบบกราฟิกและภาพประกอบ เพื่อการสื่อสารทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยว จังหวัดอ่างทอง. วารสารศิลปศาสตร์ มทร. กรุงเทพ. 4(1), 85-96.

อณพสิษฐ ไชยเชษฐ์, รัชดา ภักดียิ่ง และจริยา ปันหวังกูร. (2564). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดขอนแก่น”. Journal of Buddhist Education and Research. 7(1), 120-129.

อัลณิกา สายน้ำเย็น, รัตน์ติกุล บัวจันทร์, วริทธิ์ สร้อยจาตุรนต์, ศุภธิดา นันต๊ะภูมิ, พรเทพ สุวรรณศักดิ์ และชิดชนก เทพบัณฑิต. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภาษาญี่ปุ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 16(3), 118-125.