ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรค และภัยสุขภาพของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาพักที่เกาะหลีเป๊ะ ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูล

Main Article Content

ปฏิญญา แก้วคงนวล
ขนิษฐา เกิดศรี
อรรถชัย มาสิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมสุขภาพ และการทำนายพฤติกรรมสุขภาพของนักท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาพักที่เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล จำนวน 400 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัย
เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิด Precede Model ประกอบด้วย ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ


ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง มีพฤติกรรมการป้องกันโรค
และภัยสุขภาพที่เหมาะสม ปฏิบัติทุกครั้ง ร้อยละ 70.5 โดยเฉพาะพฤติกรรมการป้องกันตนเองขณะเดินทางทางน้ำมีการสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งขณะเดินทาง ร้อยละ 69.5 2) ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ ทัศนคติเรื่องโรคและภัยสุขภาพ การรับรู้ความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งบริการ
ด้านเวชศาสตร์การเดินทาง การเข้าถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรค และภัยสุขภาพ ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐ การได้รับข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันโรค และภัยสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .22, .26, .19, .18, .20, .33, .33, .33 p<.001) 3) ความสามารถในการทำนายของปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริม พบว่า ทุกปัจจัยมีความสามารถในการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เช่น
การเข้าถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ จะมีพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพมากกว่าการเข้าไม่ถึงกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ 4.79 เท่า


จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม
ต่างมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักที่เกาะหลีเป๊ะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะหลีเป๊ะ เทศบาลตำบลเกาะหลีเป๊ะ ควรให้การสนับสนุนปัจจัยต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น เช่น จัดทำเอกสารแผ่นพับ โปสเตอร์ หรือวิธีการให้ความรู้ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและควรจัดอบรมให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานประจำเรือ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพให้แก่นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้องและทันกับสถานการณ์โรค

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด ปี 2565. จาก https://www.mots.go.th/news/category/657

เกษแก้ว เสียงเพราะ. (2561). สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ณัฐพล ชัยลังกา. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เหลืองในผู้เดินทางชาวไทยที่เดินทางกลับจากเขตติดโรคไข้เหลือง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 35(3), 77-90.

ตวงพร กตัญญุตานนท์, ธนภรณ์ ทองศิริ, อารยา พิชิตชัยณรงค์, ธันยพร กิ่งดอกไม้, สุภาพ ธรรมกุล, ภาวลิน แสนคำราง และซัยนี่ บิลก่อเด็ม. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 7(1), 8-20.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะหลีเป๊ะ. (2565). ผลการดำเนินงานคลินิกเวชศาสตร์การเดินทางและการท่องเที่ยว TRAVEL MEDICINE CLINIC. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2540). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: กองวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

วินัย วุตติวิโรจน์. (2560). สุขภาพกับการเดินทาง Travel and Health. กรุงเทพฯ: อาร์ตควอลิไฟท์.

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ TNN. (2565). การท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล. จากhttps://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TCATG220511131921241