ความรุนแรงในวรรณกรรมปลาบู่ทองกลอนสวด

Main Article Content

ประกายเพ็ชร ประกอบธรรม
ประวีณา กลั่นนุช
เกษสุวรรณ์ กันจอน
ปฐมพงษ์ สุขเล็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์ตีความเนื้อหาวรรณกรรม มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงในวรรณกรรมปลาบู่ทองกลอนสวดฉบับกรมศิลปากร โดยใช้กรอบแนวคิดลักษณะความรุนแรงขององค์การอนามัยโลก ผลการวิจัยพบว่าวรรณกรรมเรื่องปลาบู่ทองกลอนสวดปรากฏความรุนแรง 4 ประเภท คือ ความรุนแรงทางร่างกาย ความรุนแรงทางเพศ ความรุนแรงทางจิตใจ และความรุนแรงจากการสูญเสียหรือการถูกละเลยทอดทิ้ง โดยความรุนแรงอาจสามารถเกิดร่วมกันได้มากกว่าหนึ่งประเภทภายในหนึ่งเหตุการณ์คือ ความรุนแรงทางร่างกายเกิดร่วมกับความรุนแรงทางด้านจิตใจ ความรุนแรงที่พบมากที่สุดคือความรุนแรงทางร่างกาย รองมาคือความรุนแรงทางจิตใจกับความรุนแรงทางเพศที่พบเท่ากัน และความรุนแรงจากการสูญเสียหรือการถูกละเลยทอดทิ้งที่พบน้อยที่สุด การกระทำความรุนแรงปรากฏทั้งเพศชายทำต่อเพศหญิง เพศหญิงทำต่อเพศชาย และเพศหญิงทำต่อเพศหญิง การกระทำความรุนแรงสามารถเกิดได้จากทั้งผู้อื่นและตนเอง การนำเสนอความรุนแรงเหล่านี้เพื่อขับเน้นโครงเรื่องและแก่นเรื่องให้มีความคมชัดยิ่งขึ้น คือเรื่องความรักที่แม่มีต่อลูกและเรื่องผลของกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. (2557). ปลาบู่ทองกลอนสวด. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.

จิระสุข สุขสวัสดิ์. (2554). ความรุนแรงระดับกลุ่มอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ การเผชิญปัญหาและความสุขของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย: การวิจัยแบบผสมผสาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีศิลป์ บุญขจร. (2547). วรรณกรรมประเภทกลอนสวดภาคกลาง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิศา บูรณภวังค์. (2563). การกลั่นแกล้งและความรุนแรงในวรรณคดีไทยเฉพาะเรื่อง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 9(2), 105-124.

พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ระพี อุทีเพ็ญตระกูล. (2551). ความรุนแรงในวรรณคดีเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วรปฐมา คำหมู่. (2535). การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องนางอุทธรา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุกัญญา สุจฉายา. (2556). วรรณกรรมมุขปาฐะ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสนาะ เจริญพร. (2564). ผู้หญิงกับความรักในนิตยสาร สตรีสารช่วงทศวรรษ 2490. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์. 8(2), 92-138.