กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอข่าวด้วยการใช้คำกริยาใน พาดหัวข่าวที่สะท้อนอุดมการณ์สิทธิการเลือกคู่ครองและ สร้างครอบครัวในสื่อไทยรัฐออนไลน์เกี่ยวกับเทศกาลไพรด์

Main Article Content

ภาวินี หยิกยี่
จอมขวัญ สุทธินนท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวาทกรรมที่สะท้อนอุดมการณ์สิทธิการเลือกคู่ครองและการสร้างครอบครัวจากพาดหัวข่าวไทยรัฐออนไลน์ในปี พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2566 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยพาดหัวข่าวไทยรัฐออนไลน์เกี่ยวกับเทศกาลไพรด์ (Pride Month) เป็นระยะเวลา 4 ปี ทั้งหมด 58 ข่าว โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์มาเป็นแนวทางในการศึกษา ผลการศึกษาลักษณะตัวบทที่นำเสนอข่าวเกี่ยวกับเทศกาลไพรด์ พบว่าพาดหัวข่าวใช้กลวิธีทางภาษาในการนำเสนอข่าวด้วยการใช้คำกริยา 3 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำกริยาเรียกร้องสิทธิ การใช้คำกริยาในกระบวนการจัดการสิทธิ การใช้คำกริยาในการจัดการและความสำเร็จในการเรียกร้อง โดยพบว่ามีการใช้คำกริยาที่ซ้ำกันมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) คำว่า สมรส 21 ครั้ง 2) คำว่า เปิดหรือเปิดกว้าง 9 ครั้ง และ 3) คำว่า ยัน หรือ ยืนยัน 8 ครั้ง คำกริยาเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิการเลือกคู่ครองและการสร้างครอบครัวผ่านกระบวนการร่างกฎหมายและต้องได้รับการยอมรับอย่างเปิดกว้างในสังคม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา กันติชล. (2565). ปัญหาสิ่งแวดล้อม : การศึกษากลวิธีการใช้ภาษาจากการพาดหัวข่าวออนไลน์. วารสารปาริชาต. 35(4), 147-164.

จริยา ถนัดค้า และณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์. (2564). การตอบโต้ความเป็นชายขอบ : การกลายเป็นเน็ตไอดอลของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ). วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(3), 213-221, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/soc-rmu/article/view/249276/169662

จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2562). Discourse Analysis การวิเคราะห์ข้อความ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยพร โกมุที. (2563). สิทธิและเสรีภาพในการสมรสของบุคคลเพศทางเลือก. วารสารวิชาการทางกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 6(1), 137-168.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://dictionary.orst.go.th/

พิมพ์รจิต เอื้อวงษ์ชัย, ศิริสุข รักถิ่น และศยามล ลำลองรัตน์. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการรับชมและการบอกต่อของผู้ชมรายการข่าวไทยรัฐทีวี. วารสารนักบริหาร. 40(1), 44-65.

วราภรณ์ ชวพงษ์. (ม.ป.ป.). เทคนิคการเขียนข่าว ส่งข่าว และเผยแพร่ภาพข่าวสู่สื่อมวลชน. กองกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://general.psu.ac.th/pdf/technicnew.pdf

ศิริชนก วิริยเกื้อกูล. (2561). Hot Issue สิทธิการสมรสระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://dl.parliament.go.th/

handle/20.500.13072/533025

ศุภรา ศรีปริวาทิน. (ม.ป.ป.). แนวคิดและหลักการของสิทธิมนุษยชน. ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 9. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2566, จาก https://policetraining9.com

อัญมณี สัจจาสัย. (ม.ป.ป.). ความหลากหลายทางเพศ ตอนที่ 1 เพศสภาพ และ LGBTQI คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=2649