การจัดการชุมชน ภูมินิเวศ งานและอาชีพ แบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่เขา-ป่า-นา-เล จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

วายุภักษ์ ทาบุญมา
เบญจพร จันทรโคตร
ประกิต ไชยธาดา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการชุมชน ศึกษาบริบท ความต้องการ ภูมินิเวศ งานและอาชีพ แบบมีส่วนร่วม ในพื้นที่เขา-ป่า-นา-เล จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนสำหรับการเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างสรรค์งานและอาชีพ ผู้สร้างนวัตกรรม ผู้มีวิถีชีวิตเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ ครู ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้ประกอบการในพื้นที่เขาป่านาเล จำนวนพื้นที่ละ 12 คน รวมทั้งสิ้น 48 คน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน โดยใช้การประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การฝึกอบรม การระดมความคิดเห็น และการอภิปรายกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาบริบทชุมชน การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า การจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมโดยการสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและโรงเรียน เพื่อเป็นต้นน้ำในการจัดกิจกรรมงานและอาชีพให้กับนักเรียน มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาบริบท ความต้องการ ภูมินิเวศของชุมชน 2) การสำรวจงานและอาชีพของชุมชนที่สัมพันธ์กับภูมินิเวศของชุมชน 3) การวางแผนปฏิบัติการมีส่วนร่วม 4) การประชุมปฏิบัติ การฝึกอบรม การระดมความคิดเห็น การอภิปรายกลุ่ม 5) การประเมินผลการจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วม การวิจัยครั้งนี้ทำให้เกิดการบูรณาการระหว่างผู้วิจัย ชุมชน และโรงเรียน การวิจัยปฏิบัติการทำให้ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงกับกลุ่มเป้าหมาย เกิดการวางแผนปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วม ทำให้ผู้นำชุมชน กลุ่มอาชีพต่าง ๆ และโรงเรียน ทำให้มีความรู้สึกว่าเป็นผู้ร่วมสร้างกิจกรรม การปฏิบัติการตามแผนงานที่กำหนดอย่างต่อเนื่องในชุมชนตามแผนกิจกรรมที่วางไว้ ชุมชนและโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น โดยโรงเรียนสามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับงานและอาชีพตามบริบทของชุมชน สามารถใช้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาชุมชน. (2554). กระบวนการส่งเสริมระบบการบริหารจัดการชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็ง ชุมชน.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เจน จันทรสุภาเสน, กาญจน์ คุ้มทรัพย์, รุจิรา คุ้มทรัพย์, ศศิธร แท่นทอง, เขมปริตร ขุนราชเสนา, ฤทัยรัตน์ น้อยคนดี และคณะ. (2563). การใช้เทคนิค AIC เพื่อการเฝ้าระวังและการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการอนุรักษ์แมงกะพรุนน้ำจืดในพื้นที่ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารรัชต์ภาคย์. 14(37), 204-214.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10(2), 1342-1354. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2566, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/98396/76585

ณัฏฐณิชา สังข์ศิลป์เลิศ และศรุติพงศ์ ภูวัชร์วรานนท์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําเชิงกลยุทธ์กับการบริหารจัดการความเสี่ยงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 3(1), 56-83.

ดนัย ทายตะคุ. (2548). โครงสร้างเชิงปริภูมิของภูมิทัศน์กับการวิเคราะห์และการสร้างแบบจำลอง: การทบทวนทางทฤษฎีของกระบวนการเชิงปริมาณทางภูมินิเวศวิทยา. วารสารวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์. 1, 97-124.

นิเวศท้องถิ่น. (2554). ภูมินิเวศและภูมิปัญญาท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2566, จาก http://habitat2011.blogspot.com/2012/08/blog-post.html

ประชาสรรณ์ แสนภักดี. (2547). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม. prachasan.com. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2566, จาก http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html

มานะ ขุนวีช่วย. (2558). ประวัติศาสตร์การต่อสู่เพื่อเข้าถึงทรัพยากร เขา-นา-เล ในนครศรีธรรมราช. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 10(2), 107-125.

ยุพเรศ สิทธิพงษ์ และยุทธนา ทองท้วม. (2562). ภูมินิเวศวิทยาในวัฒนธรรมล้านนากับแนวทางการบูรณาการทางภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อลดผลกระทบทางอุทกวิทยาน้ำผิวดินจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน กรณีศึกษาแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 18(1), 19-35.

ระพีพัฒน์ ศรีมาลา, พรสุข หุ่นนิรันดร์ และทรงพล ต่อนี. (2559). การจัดการสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(3), 159-168.

รัถยานภิศ พละศึก, เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และดลปภัฎ ทรงเลิศ. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: กระบวนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5(1), 211-223.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. กรุงเทพฯ: ธรรกมลพิมพ์.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัญญา ยือราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 5(2), 288-300.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2562). ถอดบทเรียนการจัดการชุมชนทุ่งตำเสา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 39(3), 63-80.

Forman, R. T. T. and Godron, M. (1986). Landscape ecology. New York, NY: John Wiley & Sons.