การเคลื่อนย้ายศูนย์กลางการผลิตยางธรรมชาติจากบราซิล เข้าสู่สิงคโปร์และแหลมมาลายูในศตวรรษที่ 19

Main Article Content

ยุทธิยง ลิ้มเลิศวาที
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ

บทคัดย่อ

ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ถึงสาเหตุการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางการผลิตยางธรรมชาติจากประเทศบราซิล ซึ่งเคยเป็นภูมิภาคที่ส่งยางธรรมชาติเข้าสู่ยุโรปและสหรัฐอเมริกามากที่สุดในปลายศตวรรษที่ 19 ต่อมาต้นศตวรรษที่ 20 ศูนย์กลางผลิตยางพาราได้ย้ายมาอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหตุปัจจัย 6 ประการ 1) การพัฒนาและความก้าวหน้าในเทคโนโลยีหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปทำให้เกิดอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยางธรรมชาติเพื่อนำมาผลิตเป็นล้อของรถยนต์ 2) ยางธรรมชาติจากบราซิลเป็นวัตถุดิบที่ต้องหาจากป่าอเมซอนทำให้อุตสาหกรรมไม่สามารถคาดการณ์ปริมาณอุปทานของยางธรรมชาติได้ 3) การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาต้องการวัตถุดิบอุปทานที่มากและเพียงพอต่อความต้องการของการผลิตอุตสาหกรรม 4) พื้นที่สภาพแวดล้อมในการปลูกยางในบราซิลและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตรที่เหมาะสมต่อการเติบโตของยาง 5) ต้นทุนในการผลิตเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติจะมีต้นทุนที่แพงกว่าการปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6) แรงงานในการปลูกยางในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแรงงานจากกุลีชาวจีนที่มีต้นทุนที่ถูก ทำให้พ่อค้านักธุรกิจของอังกฤษเห็นโอกาสเชิงพาณิชย์และผลกำไร จึงได้มีการนำต้นยางเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอาณานิคมของอังกฤษ (Straits Settlements) ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่สิงคโปร์ ต่อมาต้นศตวรรษที่ 20 การปลูกยางขยายตัวเติบโต เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นพื้นที่ผลิตยางธรรมชาติมากที่สุดของโลกแทนที่ศูนย์กลางยางธรรมชาติของบราซิล และในการศึกษาวิจัยในบทความนี้ ได้ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าวิธีทางประวัติศาสตร์ (Historical Approach) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ จากการสืบค้นและการทบทวนวรรณกรรม Literature review

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิชาการ

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2565). สถานการณ์ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางพาราของจีนปี 2021. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://xn-42ca1c5gh2k.com/wp-content/uploads/2022/03/767367.pdf

การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). ยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565, https://km.raot.co.th/uploads/dip/userfiles/

ชัยวัช โชวเจริญสุข. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567 : อุตสาหกรรมยางพารา. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/agriculture/rubber/io/rubber-2022

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2548). ก้าวย่างสู่ศูนย์กลางยางพาราโลก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง.

ปก แก้วกาญจน์. (2534). รายงานการวิจัยการสร้างทางรถไฟสายใต้กับผลกระทบทางเศรษฐกิจและการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันทักษิณศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2535). ทุนสิงคโปร์การผูกขาดตลาดยางพาราและดีบุกไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูวดล ทรงประเสริฐ. (2546). ทุนจีนปักษ์ใต้ : ภูมิหลังเบื้องลึกทุนใหญ่โพ้นทะเล. กรุงเทพฯ: ทิปปิ้ง พอยท์.

ลอเรนซ์ เบอร์กรีน. (2557). โคลัมบัสและเรื่องราวของการค้นพบโลกใหม่. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

สกินเนอร์, จี. ดับเบิลยู. (2564). สังคมจีนในประเทศไทย ประวัติศาสตร์เชิงสังเคราะห์ [Chinese Society in Thailand an Analytical History] ใน ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บ.ก.). (พรรณี ฉัตรพลรักษ์, ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ, ม.ร.ว., ประกายทอง สิริสุข, ภรณี กาญจนัษฐิติ, ปรียา บุญญะศิริ, ศรีสุข ทวิชาประสิทธิ, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. (2564)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ยางพารา. สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม 2566, จาก https://mis-app.oae.go.th/product/ยางพารา

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงสิงคโปร์. (2564). สิงคโปร์ : ศูนย์กลางการค้ายางพาราโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566, จาก https://oldweb.ditp.go.th/contents_attach/732962/732962.pdf

Bonny, T. (2004). Tan Kah Kee. Retrieved May 6, 2023, from https://eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_839_2004-12-28.html.

Davis, W. (1996). A Brief History of Rubber. Retrieved April 12, 2023, from https://rainforests.mongabay.com/10rubber.htm

Drabble, J. H. (1972). Investment in the Rubber Industry in Malaya C. 1900-1922. Retrieved May 2, 2023, from https://www.jstor.org/stable/20069988

Frank, Z. (2008). The International Natural Rubber Market, 1870-1930. Retrieved May 1, 2023, from https://eh.net/encyclopedia/the-international-natural-rubber-market-1870-1930/

History.com. (2018). Automobile HistoryRetrieved May 1, 2023, from https://www.history.com/topics/inventions/automobiles

Lee Kong Chian School of Business. (2015). About Lee Kong Chian. Retrieved May 2, 2023, from https://business.smu.edu.sg/landmarkgift/lee_kong_chian

Loadman, J. (2003). Sir Henry Alexander Wickham. Retrieved May 5, 2023, from http://www.bouncing-balls.com/timeline/people/

nr_wickham1.htm

Malaysian Rubber Producer's Research Association. (1995). The Exploitation of Natural Rubber. Retrieved August 14, 2023, from https://holdenslatex.com/content/pdf/history.pdf

Michigan Economic Development Corporation. (2016). The Automotive Hall of Fame. Retrieved May 5, 2023, from https://www.automotivehalloffame.org/honoree/bertha-benz/

Singapore Botanic Gardens. (2023). 1888: Ridley and the Malayan Rubber Industry (from 1896). Retrieved April 20, 2023, from https://www.nparks.gov.sg/sbg/about/our-history/1888-ridley-and-the-malayan-rubber-industry-from-1896

Sutherland, D. (2009). Tan Chay Yan. Retrieved May 4, 2023, from https://eresources.nlb.gov.sg/infopedia/articles/SIP_1628_2009-12-31.html

Wikipedia. (2023). Vulcanization. Retrieved May 4, 2023, from https://en.wikipedia.org/wiki/Vulcanization