หลักธรรมาภิบาลของพนักงานต่อการปฏิบัติงาน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ดนุวัศ สุวรรณวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และศึกษาปัญหาและอุปสรรคใน
การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของพนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีระดับความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.31) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านหลักคุณธรรม
(  = 4.47) ด้านหลักความรับผิดชอบ (  = 4.41) ด้านหลักความโปร่งใส
(  = 4.33) ด้านหลักการมีส่วนร่วม (  = 4.25) ด้านหลักนิติธรรม (  = 4.23) และอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน คือ ด้านหลักความคุ้มค่า (  = 4.18) ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของพนักงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า
ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องของการที่เจ้าหน้าที่ขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ประชาชนไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายโดยรวม การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัญหาในเรื่องของการคอร์รัปชัน ระบบอุปถัมภ์ และ
ความอยุติธรรมที่ยังเกิดขึ้นภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

Downloads

Article Details

How to Cite
สุวรรณวงศ์ ด. (2020). หลักธรรมาภิบาลของพนักงานต่อการปฏิบัติงาน ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(2), 29–54. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoskru/article/view/243322
บท
บทความวิจัย

References

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. (13 ed.). New York: John Wiley & Sons.
Corruption Perception Index-CPI. (2562). อันดับความโปร่งใสไทยปี ค.ศ. 2018. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand.
Nation. (2562). เนชั่นวิเคราะห์เลือกตั้ง 2562. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2562, จาก https://www.nationtv.tv/main/content.
กมลลักษณ์ ธนานันต์เมธี. (2559). อิทธิพลของธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการบริหารการพัฒนาองค์การ). มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา. นครสวรรค์.
เกษม วัฒนชัย. (2546). ธรรมาภิบาลกับบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2549). อาวุธมีชีวิต? : แนวคิดเชิงวิพากษ์ว่าด้วยความรุนแรง. กรุงเทพฯ: ฟ้าเดียวกัน.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู. (2545). ธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: น้ำฝน.
ณัฐ วิมลพีรพัฒนา. (2556) แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานองค์กรกระบวนการยุติธรรม: ศึกษากรณีกรมสอบสวนคดีพิเศษ. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
ธนกฤต โพธิ์เงิน. (2557). “ปัจจัยด้านการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดปทุมธานี” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 6(2). 320-328.
เรณู หมื่นห่อ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการนำหลักธรรมา ภิบาลไปปฏิบัติในองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ลาชิต ไชยอนงค์. (2556). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การ กับประสิทธิผลองค์การของศาลยุติธรรม: ตัวแบบสมการโครงการ. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเกริก. กรุงเทพฯ.
สุรเชษฐ์ คะสุดใจ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.