ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการ ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้
ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม และ 3) เพื่อทำนายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งคณะผู้วิจัยใช้การประมวลผลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นที่มีต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อยู่ในระดับมาก 2) ระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ใน
การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ความพร้อมของระบบงาน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ความชัดเจนของยุทธศาสตร์ และความเหมาะสมด้านโครงสร้างของหน่วยงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ
References
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2552). การปฏิรูประบบราชการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เทียนชัย ไชยเศรษฐ. (2552). วัฒนธรรมองค์กร. กรุงเทพฯ: เอ็กเปอร์เน็ท.
เนาวรัตน์ พุ่มจันทร์. (2550). ความสำเร็จของการนำหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีไปใช้ในการบริหารงานเทศบาล : กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
พรภวิษย์ มนตร์วัชรินทร์, นงลักษณ์ พอร์เตอร์ และวีรพันธุ์ ศิริฤทธิ์. (2557). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของ
การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2”. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา. 8(4), 64-72.
พัชสิริ ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิลล์.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2546). คู่มือคำอธิบายและแนวทางปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณพ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: สิรบุตย์การพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ: พรีเมียร์ โปร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2556). รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2559). การสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2553). การบริหารเชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารจัดการของสำนักพระพุทธศาสนาจังหวัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
สุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม. (2560). ข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2560, จาก https://www.thakham.go.th
อรวรรณ ทิพาสุทธ์. (2551). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารและบริการของเรือนจำพิเศษธนบุรี และทัณฑสถานหญิงธนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.