การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา (3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และ (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความพึงพอใจของนักศึกษา ประชากรในการศึกษาคือ นักศึกษาสาขาวิชา
รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 208 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบเลือกตอบ (Check List) และนำข้อมูลทั้งหมดไปวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test ค่า F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า : (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.70, S.D. = .511) (2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (
= 3.78, S.D. = .554) (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างในตัวแปรเพศ ระดับชั้นปี รายจ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างเรียนต่อเดือน อาชีพของผู้ปกครอง และลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างด้านเกรดเฉลี่ย รายรับที่ได้รับจากผู้ปกครอง/การทำงานเสริมนอกเวลาต่อเดือน ฐานะทางบ้านของนักศึกษา จำนวนพี่น้อง สถานะภาพของผู้ปกครอง และการเดินทางมามหาวิทยาลัยมีความเห็นว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับความพึงพอใจของนักศึกษาโดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (r = .793(**), Sig. = .000) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ
References
กนกพร บุญจูบุตร และคณะ. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT วิชาการวิจัยดำเนินงานเบื้องต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
จันทิมา เมยประโคน. (255). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนวิชาศิลปะ เรื่องการสร้างสรรค์จากเศษวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปีการศึกษา 2554. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาศาสตร์.
ปัญจา ชูช่วย. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พัชราภรณ์ อินริราย และธวัลรัตน์ สัมฤทธ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาจากการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการวัดและเครื่องมือวัดในงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ราชภัฏสวนสุนันทา.
พิทยา โพธิ์ทอง. (2549). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจทางการเรียน เรื่องมาสร้างโลกสีเขียวกันเถอะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยการใช้เกมและเพลงประกอบการสอน. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษาการสอนสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2561). นโยบายของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
เมธาวดี มณีนิล. (2556). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการจัดทําสื่อ Power Point เรื่องระบบร่างกาย". วารสารวิจัยนวัตกรรมและการบริหารงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 24(1), 157 - 171.
ยุทธ มะลิรส. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคำพี้ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
รุจิราพรรณ คงช่วย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคใต้. สงขลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
วราภรณ์ ลวงสวาส, สฎายุ ธีระวณิชตระกูล และชัยพจน์ รักงาม. (2561). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1”. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 6(1): 236 - 254.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). รายงานสภาวะการศึกษาไทย
ปี 2551/2552. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
สุดี บุญนาค. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการเรียนด้วยเว็บช่วยสอน โดยใช้เทคนิคแอดมินชัน 3 มิติ เรื่องภูเขาไฟ. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Barnard Chester I. (1969). Organization and Management. Cambridge: Harvard University.
Bloom, Benjamins. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Cronbach, L. J. (1977). Education Psychology. New York: Harcourt Brace Jovanovich.