แผงลูกชิ้น : การจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง กรณีศึกษา ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการแผงลูกชิ้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง
เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการแผงลูกชิ้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง และเพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมแผงลูกชิ้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง กรณีศึกษา ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย
เชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการแผงลูกชิ้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง กรณีศึกษา ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง
จังหวัดพัทลุง พบว่า 1) ด้านการวางแผนการขาย โดยการวางแผนในเรื่องกำไรและต้องเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า
2) ด้านการกำหนดราคาสินค้า โดยกำหนดราคาที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน และในช่วงเทศกาลสำคัญให้มีส่วนลด เพื่อให้ลูกค้ามีความสนใจที่จะมาซื้อมากขึ้น 3) การบริการ โดยผู้ขายจะต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญโดยการเอาใจใส่ หรือบางครั้งต้องเข้าฝึกอบรมเทคนิควิธีการใหม่ ๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการบริการลูกค้าเป็นสิ่งจำเป็น - ปัญหาการจัดการแผงลูกชิ้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง กรณีศึกษา ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่า 1) ปัญหาด้านผู้ประกอบการ พบว่า มีปัญหาสำคัญหลายประการ เช่น จ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามเวลา
และการปรับเปลี่ยนพนักงานบ่อยครั้ง เป็นต้น 2) ปัญหาด้านเงินทุน พบว่า ผู้ประกอบการมักขาดสภาพคล่อง เช่น ทุนสำรอง
การจ่ายซื้อสินค้าทุนขยายกิจการ เป็นต้น 3) ปัญหาวัตถุดิบที่สำคัญ คือ มักจะมีวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย เช่น
ช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เป็นต้น 4) ปัญหาด้านวิธีปฏิบัติงาน พบว่าการปรับเปลี่ยนพนักงานบ่อยครั้ง ส่งผลต่อ
ความคล่องแคล่วในการให้บริการต่อลูกค้า - แนวทางส่งเสริมแผงลูกชิ้นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง กรณีศึกษา ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง พบว่ามีแนวทางที่สำคัญ ดังนี้ คือ 1) ทำการปรับปรุงแผงลูกชิ้นให้รองรับการขยายกิจการ 2) การจัดการแผงลูกชิ้นให้มีความสะอาด ปลอดภัย โดยใช้วิธีการผลิตที่ถูกสุขลักษณะ 3) การใช้สื่อออนไลน์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์แผงลูกชิ้นเพื่อการจัดจำหน่าย 4) สาธารณสุขจังหวัดควรเข้ามาตรวจสอบขั้นตอนการผลิตลูกชิ้นที่มีความสะอาด ปลอดภัย โดยการไม่นำสารบอแร็กซ์มาใช้ในกระบวนการการผลิตลูกชิ้น และ 5) มีแนวทางในการขยายกิจการโดยใช้ตัวแทนจำหน่าย
Downloads
Article Details
How to Cite
ผุดพัฒน์ ด. (2019). แผงลูกชิ้น : การจัดการตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในชุมชนเมือง กรณีศึกษา ตลาดเทศบาลเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 1(1), 31–41. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoskru/article/view/209036
บท
บทความวิจัย
ลิขสิทธิ
References
ดุจฤดี คงสุวรรณ์. (2543). พัฒนาการสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2560, จาก http://www.Baanjomyut.com/
library_2/development_of_society/
ปนัดดา จันทร์อุไร. (2547). คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิ้น. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก http://www/thaithesis.org/
detail.php?id=1202547000110
ปาณิศรา สิริเอกศาสตร์. (2556). การตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปานศิริ พูลพล. (2560). “ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP (ระดับ 1-5 ดาว) ในจังหวัดขอนแก่น”. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตบัณฑิตเอเชีย. 7, น. 23-33.
ภัทรา ชื่นชม. (2554). สิ่งแวดล้อมในเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รังสินี พูลเพิ่ม. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของครอบครัว. กรุงเทพฯ: ที พี พริ้น.
ศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล. (2558). “ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในเขตจตุจักรเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน”. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 6(1), น. 69-81.
เศรษฐศิลป์ อัมมวรรธน์. (2537). ความปลอดภัยอาหารไทย. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์ พัฒนา.
สุรีพร ศรีชมพู. (2557). การตลาด. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki%E0%B8%81
%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94 B8%94
อนุกูล พลศิริ. (2534). ลูกชิ้น. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก https://lookchinpk.com/index.php/opshop-2
องอาจ ปทะวานิช. (2550). การส่งเสริมการขาย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก http://www.kasikornresearch.com/
InfoGraphic/Documents/2766_p.pdf
library_2/development_of_society/
ปนัดดา จันทร์อุไร. (2547). คุณค่าทางโภชนาการของลูกชิ้น. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก http://www/thaithesis.org/
detail.php?id=1202547000110
ปาณิศรา สิริเอกศาสตร์. (2556). การตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ปานศิริ พูลพล. (2560). “ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP (ระดับ 1-5 ดาว) ในจังหวัดขอนแก่น”. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตบัณฑิตเอเชีย. 7, น. 23-33.
ภัทรา ชื่นชม. (2554). สิ่งแวดล้อมในเมือง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รังสินี พูลเพิ่ม. (2559). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของครอบครัว. กรุงเทพฯ: ที พี พริ้น.
ศรินทร์ ขันติวัฒนะกุล. (2558). “ปัญหา และแนวทางการพัฒนาการตลาดของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาชีพในเขตจตุจักรเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน”. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 6(1), น. 69-81.
เศรษฐศิลป์ อัมมวรรธน์. (2537). ความปลอดภัยอาหารไทย. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์ พัฒนา.
สุรีพร ศรีชมพู. (2557). การตลาด. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki%E0%B8%81
%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94 B8%94
อนุกูล พลศิริ. (2534). ลูกชิ้น. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก https://lookchinpk.com/index.php/opshop-2
องอาจ ปทะวานิช. (2550). การส่งเสริมการขาย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2560, จาก http://www.kasikornresearch.com/
InfoGraphic/Documents/2766_p.pdf