วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลามีมาตรฐานการตีพิมพ์บทความดังนี้

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ดำเนินการใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบการคัดลอกผลงาน เมื่อพบว่าผู้นิพนธ์คัดลอกหรือละเมิดผลงานของผู้อื่น ทางกองบรรณาธิการจะทำการประสานงานกับผู้นิพนธ์หลักเพื่อขอคำชี้แจง สำหรับใช้ตัดสินใจ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ

บทบาทหน้าที่ของผู้แต่ง

  1. บทความที่ผู้แต่งส่งให้วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ และไม่อยู่ในระหว่างการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ของวารสารอื่น
  2. ผู้แต่งต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเอง หากมีการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ให้อ้างอิงทั้งในและท้ายบทความ
  3. ผู้แต่งจะต้องไม่รายงานข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงหรือข้อมูลที่เป็นเท็จ รวมถึงการปลอมแปลงบิดเบือนข้อมูลในบทความ
  4. เมื่อผู้แต่งส่งบทความแล้วมีความประสงค์จะยกเลิกบทความออกจากวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา สามารถยกเลิกการส่งบทความได้ภายใน 10 วัน นับตั้งแต่วันที่ส่งบทความ หากเกินระยะเวลาที่กำหนด การพิจารณาจะขึ้นอยู่กับผู้ทรงคุณวุฒิ
  5. ผู้แต่งต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้
  6. เนื้อหาและความคิดเห็นที่อยู่ในบทความเป็นลิขสิทธิ์ของผู้แต่งเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้อง

 

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ

  1. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) ทุกบทความ
  2. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
  3. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการเปิดโอกาสให้ผู้แต่งสามารถอุทธรณ์ได้ หากผู้แต่งมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากการประเมินบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ
  4. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของวารสารอย่างเคร่งครัด
  5. บรรณาธิการและกองบรรณาธิการต้องไม่ปิดกั้น เปลี่ยนแปลงหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์

 

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องตระหนักว่าตนเองเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง หากผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบพบว่า บทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
  1. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพของบทความ พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลของวิชาการ
  2. หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมินเป็นบทความที่คัดลอกผลงานผู้อื่น ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบทันที พร้อมแสดงหลักฐานประกอบที่ชัดเจน