ผีตาโขน: จากศิลปะพื้นบ้านสู่ศิลปะสร้างสรรค์ ในพื้นที่วัฒนธรรมอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ผีตาโขนจากศิลปะพื้นบ้านสู่ศิลปะสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่วัฒนธรรมอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย พบว่า ผีตาโขน เดิมเรียกว่า ผีตามคน เป็นองค์ประกอบหนึ่งในงานบุญหลวง ที่นำเรื่องราวมาจากตอนส่งพระเวสสันดรกลับเข้าเมือง
โดยผีป่าที่เคยปรนนิบัติมีความอาลัยรัก จึงแฝงตัวกับชาวบ้านมาส่ง และหาสิ่งของที่พอจะนำมาปกปิดหน้าตาเพื่อไม่ให้คนที่เห็นกลัว แต่เดิมชาวบ้านทำผีตาโขนแบบเรียบง่าย ใช้วัสดุในครัวเรือนและชุมชนมาทำให้มีลักษณะอย่างผี เพื่อนำเข้าร่วมงานบุญหลวง ปัจจุบันผีตาโขนมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบใหม่ที่สร้างการรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่ตระการตา และอลังการ ด้วยการใช้วัสดุสมัยใหม่ ลวดลายและการระบายสีแบบสมัยนิยม และเทคนิควิธีการทำแบบผสมผสาน โดยมีการกำหนดแนวคิดการทำผีตาโขนที่ชัดเจน ภาพลักษณ์ของผีตาโขนจึงความเป็นแฟนตาซีมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงผีตาโขนมีดังนี้ 1) คนในชุมชนมีทักษะศิลปะสร้างสรรค์มากขึ้น 2) กระแสการจัดการท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรม
3) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยออกแบบ 4) พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่ต้องการรับรู้ศิลปะวัฒนธรรมของชุมชน 5) การประกวดแข่งขันการวาดภาพระบายสีเชิงสร้างสรรค์ และ 6) ภาครัฐมีการขับเคลื่อนกิจกรรมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ
References
เขมา แฉ่งฉายา. (2565). ผลการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยจากการศึกษาภูมิปัญญาการใช้รูปทรงในภาพจิตรกรรมฝาผนัง (วัดเกาะ) สกุลช่างเมืองเพชร. มนุษย์สังคมปริทัศน์. 24(1), 135-146.
ชาลินี บริราช. (2563). อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เทศกาลผีตาโขน: ผีไทยที่ดังไกลถึงเวทีโลก. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2566, จาก https://www.creativethailand.org/view/article
ไทยโพสต์. (2566). สีสันแห่งความสนุกงานประเพณีแห่ผีตาโขน 2566. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2566, จากhttps://www.thaipost.net/tac/travel-news/389944
ธีรภัทร คำทิ้ง และภาคภูมิ สุขเจริญ. (2564). ประเพณีบุญหลวงและการละเล่นผีตาโขน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย: บทบาทหน้าที่ในสถานะประเพณีประดิษฐ์ภายใต้สถานการณ์โรคโควิด-19. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 41(1), 21-36.
นพพล แก่งจำปา. (2562). ท่องเที่ยวเทศกาลผีตาโขน: การเดินทางของผีชายขอบสู่โลกกว้างและการสร้างพื้นที่ทางสังคมของชาวด่านซ้ายในบริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. อารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน. 10(2), 169-193.
ปฐม หงส์สุวรรณ. (2558). “วิธีคิดท้องถิ่นกับการสร้างความเป็นพระโพธิสัตว์ชาวบ้านในประเพณีบุญหลวง อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย”. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1), 1-32.
ปรีชา เถาทอง. (2561). “ศิลปะสร้างสรรค์องค์ความรู้ทางวิชาการ”. บริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์. 1(2), 22-39.
พรพิทักษ์ แม้นศิริ. (2564). ประเพณีผีตาโขน: รูปแบบการสืบสานมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย-ลาว. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2566, จาก http://202.28.34.124/dspace/handle/123456789/1389
พระครูปลัดสุรวุฒิ แสงมะโน, แสงอาทิตย์ ไทยมิตร, อัครเดช นีละโยธิน และอัจฉรา สาธุ. (2562). ผีตาโขน: พุทธศรัทธาในรูปแบบของวัฒนธรรมพื้นบ้าน. วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 8(2), 214-225.
สุทธินันท์ ศรีอ่อน. (2565). จินตนาการหน้ากากผีในวัฒนธรรมพุทธสองฝั่งโขง. วิวิธวรรณสาร. 6(3), 87-104.
อธิวุธ งามนิสัย. (2561). การประยุกต์ศิลปะพื้นบ้านสู่ผลงานทัศนศิลป์ออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านสำหรับนักท่องเที่ยว. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. 23(23), 115-129.
เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2557). ผีตาโขน: นิยามและความหมายเบื้องหลังหน้ากากผีตาโขน. ดำรงวิชาการ. 4(1), 120-129.
Talknewsonline. (2565). เลยคึกคักนักท่องเที่ยวร่วมงานวันไหลผีตาโขนบ้านนาเวียง อำเภอด่านซ้าย. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.talknewsonline.com/476740/