การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างเป็นอาจารย์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา และสมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามชุดที่ 1 อาจารย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา และชุดที่ 2 สมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพและปัญหาการบริหารจัดการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.32) เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ด้านสถานที่ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก (𝑥̅ = 4.56) ในส่วนของกระบวนการวงจรการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.19) เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการปฏิบัติ (𝑥̅ = 4.60)
2) ความพึงพอใจในการใช้บริการของสมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง ในส่วนประสมทางการตลาด โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅ = 4.61) เมื่อพิจารณาตามรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (𝑥̅ = 4.84) ด้านราคา (𝑥̅ = 4.68) ด้านสถานที่ (𝑥̅ = 4.67)
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2566, จาก https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8408
กลุ่มงานยุทธศาสตร์ และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สำนักงานจังหวัดลำพูน. (2563). รายงานการวิจัยการติดตามประเมินผลแผนพัฒนาจังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2561-2565) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2566, จาก https://www.lamphun.go.th/uploads/19/2021-04/74f739b87d462cf6418c82513973918c.pdf
จตุรงค์ เหมรา, โกศล รอดมา, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ, อุมาภรณ์ คงอุไร และยุทธพงษ์ เรืองจันทร์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จยุทธศาสตร์ของศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศในสถาบันการพลศึกษา. วารสารวิชาการ สถาบันการพลศึกษา. 9(3), 1-12.
ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษ, กานนท์ แสนเภา, สุกิจจา จันทะชุม และวัฒนะ นุตทัศน์. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการกีฬาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 10(2), 161-169.
ดาวเดือน อินเตชะ, พิมพ์พิศา จันทร์มณี และภูดิส เหล็งพั้ง. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาเที่ยวในจังหวัดลำปาง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 9(6). 173-187.
บงกช จันทร์สุขวงค์. (2562). รูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศในโรงเรียนกีฬา สังกัดมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
[วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
ปทุมพร ศรีอิสาณ. (2560). รูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อมวลชนในชุมชนเขตเทศบาลนครอุดรธานี ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 5 (2555-2559). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี.
ปารามินทร์ ปลอดภัย. (2565). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกในสนามกีฬากลางจังหวัดสุพรรณบุรีของแฟนบอลทีมสุพรรณบุรีเอฟซี. [ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการกีฬาและนันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปทุมธานี.
พรพิมล รุ่งเรืองศิลป์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการกีฬาเพื่อสุขภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.
พรพิมล รุ่งเรืองศิลป์, ปัญญา สังขวดี, ขจรศักดิ์ รุ่นประพันธ์ และพงษ์เอก สุขใส. (2561). สภาพปัญหาการจัดการกีฬาเพื่อสุขภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมนุษยสังคมสาร. 16(1), 449-464.
เมธาพัฒน์ เดชะเศรษฐ์ศิริ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของคนกรุงเทพฯ. [สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต]. วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม.
รวมศักดิ์ แซ่เฮง. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดกีฬาในอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. สงขลา.
วุฒิวัฒน์ ฐิติจรัสธนโชติ, ประเพศ ไกรจันทร์ และทวีศักดิ์ รูปสิงห์. (2564). สภาพปัญหาการจัดการกีฬาเพื่อสุขภาพในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการ รมยสาร. 16(2), 449-464.
สราวุฒิ พงษ์พิพัฒน์, ประกรณ์ ตุ้ยศรี และณัชชาจารย์ โรจน์วัฒนดิษกุล. (2560). การบริหารจัดการศูนย์กีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาในมหาวิทยาลัย. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 1(2), 52-61.
อภิชญา ฐานโชติ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการจัดการกีฬา มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.