การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.11คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ทักษะการทำงานเป็นทีม, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
เนื่องจากมีการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์มาเป็นระยะเวลานานจึงทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันหรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันน้อยลง ทำให้นักเรียนไม่สามารถทำงานร่วมกันจนงานที่มอบหมายสำเร็จและส่งตามเวลาที่กำหนดได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์มาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม โดยมีวัตถุประงสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการแยกสาร 2) เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ( = 8.94, SD = 2.54) และหลังเรียน ( = 10.24, SD = 2.99) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.096 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์หลังเรียนมีทักษะการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี ( = 2.87)
References
จิตราภรณ์ ทาเคลือบ และสาวิตรี เถาว์โท. (2563). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ เรื่อง พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 15(3), 39-51.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนัชชา นวนกระโทก, ธนาวุฒิ ลาตวงษ์ และสมศิริ สิงห์ลพ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับเทคนิคจิ๊กซอว์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมการทำงานกลุ่มและจิตวิทยาศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 94-108.
นพดล ศิลปชัย, กิตติมา พันธ์พฤกษา และสมศิริ สิงห์ลพ. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และทักษะการทำงานกลุ่ม เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13(1), 169-182.
ประภาภรณ์ พลเยี่ยม. (2560). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วริษา ทรัพย์สำราญ และพรรณราย เทียมทัน. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย เทคนิคจิ๊กซอว์ร่วมกับอินโฟกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาออกแบบและเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 5(3), 112-122.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
ศศิวิมล ขอนดอก, กิตติมา พันธ์พฤกษา และสมศิริ สิงห์ลพ. (2565). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและพฤติกรรมการทํางานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง เซลล์และการทํางานของเซลล์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 265-277.
Johnson, D. W., & Johnson, R. (1999). Learning together and alone: Cooperative, competitive, and individualistic learning. Allyn & Bacon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา