วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal
<p>วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่งานค้นคว้าวิจัยและองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครอบคลุมสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น การพัฒนาชุมชน นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ภาษา วรรณกรรม คติชนวิทยา ศิลปะ วัฒนธรรม ปรัชญาและศาสนา ภูมิศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง</p>
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
th-TH
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
2774-0277
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา</p>
-
อัตลักษณ์ไทโส้ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/267576
<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ในตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และ 2) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ในตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและสัมภาษณ์ และใช้แนวคิดประเพณีประดิษฐ์ (Invented tradition) แนวคิดอัตลักษณ์ (Identity) แนวคิดชาติพันธุ์ (Ethnic) และแนวคิดประวัติศาสตร์ท้องถิ่น (Local history) เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์และตีความข้อมูล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีการอพยพเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกระจัดกระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น นครพนม สกลนคร หนองคาย และมุกดาหาร เป็นต้น โดยพบมากในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร กลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ ตำบลพะทาย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เป็นส่วนหนึ่งที่แยกตัวมาจากไทโส้ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร เนื่องจากในอดีตเกิดโรคระบาด รวมทั้งมีประชากรที่เพิ่มขึ้นและปัญหาความแห้งแล้ง จึงพากันอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่ตำบลพะทาย เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะแก่การอยู่อาศัย ด้านอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ไทโส้ตำบลพะทายมีอัตลักษณ์ทางด้านภาษา ประเพณีและวัฒนธรรม พิธีกรรมและความเชื่อที่โดดเด่น โดยในแต่ละปีได้มีการจัดประเพณี “รวมใจไทโส้” เพื่อให้ประชาชนในชุมชนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ไทโส้ และเพื่อให้เกิดความรักความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งยังสะท้อนให้เห็นอัตลักษณ์ทางด้านชาติพันธุ์ที่มีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในจังหวัดนครพนมอีกด้วย</p>
วิสิฏฐ์ คิดคำส่วน
วัชชิระพร โคตรชมพู
ลูน่า โอเซน
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
1
19
10.14456/husoaru.2024.9
-
แนวทางการพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงาน สังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/266680
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และพนักงานจ้างเหมา จำนวน 160 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือแรงงานจังหวัด สวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัด จัดหางานจังหวัด ประกันสังคมจังหวัด และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานที่ปฏิบัติงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรเห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อสภาพองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคายโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อสภาพองค์กรแห่งความสุขที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านผู้นำและด้านการจัดการ รองลงมาคือด้านนโยบาย ด้านสวัสดิการ ด้านโครงสร้าง และด้านความผูกพันองค์กร และ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ควรส่งเสริมให้เกิดการทำงานเป็นทีม จัดโครงสร้างให้สอดรับกับการทำงานแนวระนาบ สร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี มุ่งประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน หน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัดบึงกาฬและหนองคาย ควรมีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงแรงงานและปรับให้เกิดความเหมาะสมในการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข</p>
สุปรียา ลาคำ
ธนวิทย์ บุตรอุดม
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
20
38
10.14456/husoaru.2024.10
-
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/269444
<p>เนื่องจากมีการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์มาเป็นระยะเวลานานจึงทำให้นักเรียนไม่มีโอกาสทำกิจกรรมร่วมกันหรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันน้อยลง ทำให้นักเรียนไม่สามารถทำงานร่วมกันจนงานที่มอบหมายสำเร็จและส่งตามเวลาที่กำหนดได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์มาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานเป็นทีม โดยมีวัตถุประงสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการแยกสาร 2) เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ( = 8.94, SD = 2.54) และหลังเรียน ( = 10.24, SD = 2.99) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.096 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์หลังเรียนมีทักษะการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับดี ( = 2.87)</p>
ธีรศักดิ์ พูนเกตุ
สุธิดา ทองคำ
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล
กฤษณะ พวงระย้า
จรรยา อุดมทรัพย์
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
40
50
10.14456/husoaru.2024.11
-
บทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซน อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/269292
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพ และศึกษาแนวทางในการสร้างบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซน อำเภอนาทม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองซน จำนวน 325 คน และตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 14 คน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน 14 หมู่บ้าน จำนวน 17 คน และตัวแทนกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลนาทม จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent sample) ค่า F-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนมีความเห็นต่อบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซนโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยหัวหน้าครัวเรือนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองซนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับแนวทางในการสร้างบทบาทของชุมชนในกระบวนการการจัดทำแผนด้านสุขภาพ พบว่า ควรจัดเวทีการประชุมขึ้นภายในหมู่บ้านเพื่อให้ได้แนวทางในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ระดมความคิดเห็นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของหมู่บ้าน และควรให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะหรือเพิ่มเติมข้อมูลต่าง ๆ</p>
ดนัย ลามคำ
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
51
61
10.14456/husoaru.2024.12
-
การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค TGT เพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/267419
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค TGT 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค TGT ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค TGT กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จํานวน 42 คน <br />ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบ t-test แบบ dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค TGT มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.11/87.41 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 85/85 2) นักเรียน มีผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />= 4.96, S.D. = 0.15)</p>
นฤมล ภู่เงิน
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล
สุธิดา ทองคำ
บุษกร อุ๋ยวงษ์
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
62
74
10.14456/husoaru.2024.13
-
อัตลักษณ์การแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกาย แห่งประเทศไทย
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/269454
<p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพืออธิบายถึงอัตลักษณ์การแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคําแหงมหาราช พระองค์ได้ทรงรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจํา ชาติทรงอุปถัมภ์บํารุงให้เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบันนี้และนิกายสําคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่าง ต่อเนื่องและยาวไกลมีอยู่ 2 นิกาย คือ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทและพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการตั้งคณะสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทยจึงเป็นนิกายหนึ่งของศาสนาพุทธมหายานจากประเทศเวียดนามได้เข้ามายังกรุงเทพมหานครต่อมาได้รับการอุปถัมภ์ จากชุมชนจีนและไทยด้วยเหตุผลทางด้านการเมืองและวัฒนธรรมชุมชนของพุทธอนัมนิกาย ซึ่งใน<strong>การแต่งกายของคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย</strong>ในปัจจุบัน พระสงฆ์ฝ่ายอนัมนิกายและฝ่ายจีนนิกายจะสวมเสื้อและกางเกง ครองจีวร และไม่โกนคิ้ว ซึ่งแตกต่างจากพระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทครองสบง จีวร สังฆาฏิ และโกนคิ้ว อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์ทางศาสนาแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับประเพณีและการประกอบ พิธีกรรมด้านต่างๆ ของคณะสงฆ์มหายานอนัมนิกายในสังคมไทยจะเห็นได้ว่านอกกจากการห่มจีวร ของพระสงฆ์ในนิกายมหายานที่มีรูปแบบหลากหลายคือ “พิธีกรรมต่างๆ ที่สืบทอดมานานอย่างยาวไกล ทำให้เกิดการสืบสานมาเป็นองค์กรทางศาสนานาม “อนัมนิกาย” พร้อมการปรากฏอัตลักษณ์ของพระญวนหรือคณะสงฆ์อนัมนิกาย คือ อัตลักษณ์ด้านการแต่งกายบัดนั้นเป็นต้นมา</p> <p> </p>
ไชยพร สมานมิตร
ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
75
89
10.14456/husoaru.2024.14
-
การสร้าง “ชุมชนสันติสุข” ในวรรณกรรมเรื่องอาณาจักรแห่งหัวใจ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/267491
<p>บทความวิชาการเรื่อง การสร้าง “ชุมชนสันติสุข” ในวรรณกรรมเรื่องอาณาจักรแห่งหัวใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะชุมชนสันติสุขและองค์ประกอบการสร้างชุมชนสันติสุข ผลการศึกษาพบว่าผู้ประพันธ์ถ่ายทอดชุมชนสันติสุขแบ่งเป็นลักษณะแห่งสันติสุขภายใน (Inner peace) หรือเรียกว่า สันติสุขส่วนตน และลักษณะสันติสุขภายนอก (External peace) หรือเรียกว่า สันติสุขส่วนสังคม องค์ประกอบการสร้างชุมชนสันติสุข ผู้ประพันธ์พยายามที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงชุมชนสันติสุขที่ประกอบสร้างจากการสร้างตัวละครที่มีความหลากหลายแสวงหาชุมชนสันติสุข การสร้างฉากแห่งสันติภาพที่คนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขให้เกิดขึ้นจริง</p>
อามานี จะปะกียา
พัชลินจ์ จีนนุ่น
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
90
106
10.14456/husoaru.2024.15
-
ประเด็นที่น่าขบคิดบางประการ กรณีผู้สอนภาษาอังกฤษระหว่างผู้สอน ที่เป็นเจ้าของภาษาและผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในบริบทการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268969
<p>ภาษาอังกฤษได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาสากลและภาษากลางของโลกมาเป็นเวลานาน ดังนั้น จำนวนผู้ที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาและใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารมีมากกว่าผู้ที่เป็นเจ้าของภาษา ส่งผลให้ครูสอนภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เจ้าของภาษามีจำนวนมากกว่าครูที่เป็นเจ้าของภาษาด้วยเช่นกัน ความเป็นเจ้าของภาษาที่แท้จริงนั้นไม่ควรที่จะวัดกันตามประเทศที่บุคคลผู้นั้นถือกำเนิด ผู้สอนที่เป็นเจ้าของภาษามีจุดเด่นในด้านการอธิบายความหลากหลายของภาษาและวัฒนธรรมได้ดีกว่าผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษา ในทางกลับกันผู้สอนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาอาจสามารถเข้ามาเติมเต็มให้ผู้เรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศเข้าใจในความยากของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้มากกว่า ซึ่งนโยบายในการจ้างงานผู้สอนภาษาอังกฤษของสถานศึกษาใดก็ตามไม่ควรที่จะนำมุมมองเรื่องความเป็นเจ้าของภาษามาเป็นประเด็นหลัก แต่ควรต้องคำนึงถึงความสามารถทางภาษาและความสามารถในการสอนภาษา รวมถึงทักษะการจัดการเรียนการสอนภาษา</p>
เอษณ ยามาลี
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-17
2024-12-17
12 2
107
124
10.14456/husoaru.2024.16