วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal <p>วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่งานค้นคว้าวิจัยและองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครอบคลุมสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น การพัฒนาชุมชน นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิเทศศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี ภาษา วรรณกรรม คติชนวิทยา ศิลปะ วัฒนธรรม ปรัชญาและศาสนา ภูมิศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง</p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา</p> husoarujournal@aru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นราธิป ปิติธนบดี) husoarujournal@aru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นราธิป ปิติธนบดี) Fri, 28 Jun 2024 12:12:04 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/266683 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน จำนวน 400 คน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่นและผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนโดยรวมในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมด้านการบังคับใช้กฎหมายเป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านการเฝ้าระวังและด้านการสร้างจิตสำนึก 2) ปัจจัยด้านบทบาทของภาคีเครือข่าย ด้านบทบาทของท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ขับขี่อย่างไม่ประมาท มีสติและสมาธิในการขับรถ ปฏิบัติตามกฎจราจร และนำกฎหมายมาบังคับใช้ในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม (2) ด้านการเฝ้าระวัง สร้างพฤติกรรมหรือการขับขี่โดยไม่ประมาท ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ โดยศึกษาคู่มือจราจรและกฎหมายจราจร ขับขี่ตามกฎจราจร ทำความเข้าใจในการใช้กฎหมาย และจัดให้ความรู้เรื่องกฎหมายจราจรอย่างจริงจัง และ (3) ด้านการสร้างจิตสำนึก จัดทำคู่มือกฎหมายจราจรให้กับประชาชน ตักเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุ วางแผนดำเนินการและประเมินผล</p> บุญเพ็ง สิทธิวงษา, ภัทรพล เสริมทรง, ไกรสร เดชสิมมา, อาทิตย์ แสงเฉวก Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/266683 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268023 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพของการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสัก 2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสัก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสัก วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 359 คน ได้มาโดยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับคุณภาพของการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสักโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นรูปธรรมของ<br />การบริการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ <br />2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสัก จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกันได้รับคุณภาพของการให้บริการสาธารณะแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลรำมะสัก ได้แก่ ควรมีการจัดทำบริการสาธารณะที่หลายหลายและทั่วถึง ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบคุณภาพและการจัดทำบริการสาธารณะ</p> แพรวพัฒตรา สุพรรณนอก, อภิชาติ พานสุวรรณ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268023 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 บทวิเคราะห์การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การบริหารงานของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/266755 <p>การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการดําเนินงานโครงการของศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นงานวิจัยเชิงประยุกต์ เก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 จำนวน 5 ราย มีการวิเคราะห์สิ่งที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน และถอดบทเรียนจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ผลการศึกษาพบว่า โครงการดังกล่าวมีจุดแข็ง คือ ผู้จัดโครงการมีทักษะที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้ และการดำเนินโครงการดังกล่าวมีความต่อเนื่องทุกปี จุดอ่อน คือ <br />การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ครอบคลุม มีเนื้อหาสาระทางวิชาการมากไป และปัญหาที่เกิดจากปัจเจกบุคคล พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการได้บทเรียนที่สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การปลูกจิตสำนึกการเป็นข้าราชการที่ดี 2) การอยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรม 3) การมีมุมมองทัศนคติที่ดีต่อกัน 4) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และ 5) การเชื่อมโยงบูรณาการการทำงานร่วมกันในหน่วยงานของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา รวมถึงการตัดสินใจในการดำเนินโครงการต่อไป</p> วรธา มงคลสืบสกุล Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/266755 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/264802 <p>บทความวิจัยเชิงสังเคราะห์เอกสารนี้ มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยการสังเคราะห์เอกสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 - 2565 ที่ตีพิมพ์และปรากฏในฐานข้้อมููลออนไลน์ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และอินเทอร์เน็ตที่ได้จากการสืบค้นจำนวน 50 เรื่อง และผ่านเกณฑ์การสังเคราะห์ จำนวน 25 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า มีปัญหา 7 ด้าน ได้แก่ 1) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายพิพากษาศาลปกครองสูงสุดกรณีอายุของอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการยกฐานะมหาวิทยาลัยราชภัฏให้เป็นนิติบุคคล 3) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 4) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการจัดกิจกรรมนักศึกษา 5) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายในการให้ความคุ้มครองงานวิจัย 6) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา และ 7) ปัญหาและอุปสรรคกฎหมายการบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับข้อเสนอแนะที่ต้องนำไปปรับปรุง คือ ควรศึกษากฎหมาย พระราชบัญัติ ประกาศ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเป็นไปอย่างมีประสิธิภาพ ควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง จัดทำคู่มือการใช้อย่างเป็นระบบ ควรมีการสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอและเหมาะสม และให้ความรู้แก่นักศึกษาในการจัดกิจกรรมที่ขัดต่อข้อบังคับว่าด้วยการจัดกิจกรรมนักศึกษา ควรมีข้อกำหนดกฎหมายอย่างเคร่ง และควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองผลงานวิจัยทางวิชาการของบุคลากร วิทยานิพนธ์ของนักศึกษาและนำเข้าโปรแกรมตรวจสอบก่อนการเผยแพร่ ควรมีการวางแผนการบริหารความเสี่ยง มีการบริหารงานและการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามข้อกฎหมายที่กำหนด</p> ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์, สิอร หาสาสน์ศรี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/264802 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/269338 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 2) ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ 3) ศึกษาระดับทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้และคุณภาพของแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน จำนวน 9 คน และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 6 คน พิจารณาโดยเจาะจงเป็นกลุ่มเป้าหมาย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาวิชาสังคมศึกษา จำนวน 4 แผน ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมเรียนรู้ รวม 12 ชั่วโมง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินแบบประเมินทักษะการคิดแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 4 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 12 ชั่วโมง ใช้กระบวนการ PDAR มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวางแผน (P – Plan) 2) ขั้นการออกแบบ (D – Design) 3) ขั้นการปฏิบัติการ (A – Action) และ 4) สะท้อนคิด (R – Reflect) ซึ่งทุกแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการวิจัย ตลอดจนการดำเนินกิจกรรม และสามารถนำไปใช้พัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้ สำหรับคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ระดับมีคุณภาพมาก และนักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด</p> เฉลิมพล ศรีตันดา, ชรินทร์ มั่งคั่ง, แสวง แสนบุตร Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/269338 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268022 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้าง 2) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกช้างโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ ควรจัดประชาคมในวันหยุดและมีการประชาสัมพันธ์หลากหลายช่องทาง ควรส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเสนอปัญหาความต้องการของชุมชน</p> พัชรีพร เทพทอง, อภิชาติ พานสุวรรณ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268022 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบ้านอาฮี ตำบลอาฮีอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/267715 <p>บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่ประวัติศาสตร์และพื้นที่วัฒนธรรมบ้านอาฮี และศึกษาแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืนด้วยการใช้พื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบ้านอาฮี ใช้แนวคิดและทฤษฎีการจัดการท่องเที่ยวชุมชนในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและลงพื้นที่ภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) บ้านอาฮีเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการศึกษาผ่านตำนาน เรื่องเล่าและหลักฐานทางวัตถุและโบราณคดี บ้านอาฮีจึงมีพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมซ้อนทับกันอยู่ในพื้นที่หลายช่วงเวลา และกลุ่มการจัดการท่องเที่ยวได้นำข้อมูลมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารทางการท่องเที่ยวของชุมชน และ 2) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืนด้วยการใช้พื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบ้านอาฮี แบ่งแนวทางเป็น 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน (2) ด้านการอนุรักษ์และการส่งเสริมการเรียนรู้พื้นที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (3) ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคมและวิถีการดำเนินชีวิต (4) ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ (5) ด้านการจัดการระบบความปลอดภัย</p> ไทยโรจน์ พวงมณี Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/267715 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700 ทฤษฎีผัสสารมณ์กับแนวทางและความเป็นไปได้ในการศึกษาวิดีโอ ASMR https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268935 <p>แนวคิดเกี่ยวกับผัสสารมณ์ (Affect) ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางมีทั้งในแง่ที่หมายถึง กระบวนการ (Process) และพลัง (Force) จากการกลับไปหาแนวคิดของ Spinoza ที่ให้ความสำคัญกับทั้ง Affectus กับ Affectio โดยขยายขอบเขตไปไกลกว่าอารมณ์ (Emotion) และความรู้สึก (Feeling) เพื่อที่จะอธิบายพลังที่นำไปสู่การแสดงออกในรูปแบบที่หลากหลายไปจนถึงการไม่แสดงออกถึงอะไรเลย ข้อมูลที่ได้จากงานศึกษาเกี่ยวกับ ASMR โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับผัสสารมณ์ที่ผู้เขียนได้ทำการทบทวนวรรณกรรมได้ชี้ให้เห็นว่า ASMR เป็นพื้นที่ซึ่งเหลื่อมซ้อนกันของอารมณ์ ความรู้สึกและผัสสารมณ์ ทั้งยังแสดงให้เห็นว่า ASMR มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับความใกล้ชิด และการดูแลเอาใจใส่สามารถเชื่อมโยงไปถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ งานศึกษาเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ของการนำเอาทฤษฎีผัสสารมณ์ (Affect theory) ไปใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองของประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติ (Autonomous Sensory Meridian Response: ASMR) ทั้งในด้านที่เป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของร่างกาย ซึ่งเกิดก่อนการรู้คิดไม่สามารถอธิบายถึงต้นสายปลายเหตุได้ เนื่องจากเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว รวมถึงอารมณ์ความรู้สึก ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับบุคคลจากการได้รับการกระตุ้น ASMR ที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดขึ้นโดยรู้ตัว มีความสัมพันธ์กับความหมาย ภาพตัวแทน และอัตลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ทำให้ผู้เขียนพบว่าทฤษฎีผัสสารมณ์จะเป็นตัวนำทางในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์และความนิยม เรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ อารมณ์และความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการบริโภควิดีโอ ASMR ของผู้คนในสังคมไทยได้เป็นอย่างดี</p> วริณาฐ พิทักษ์วงศ์วาน, โกสุม โอมพรนุวัฒน์ Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/268935 Fri, 28 Jun 2024 00:00:00 +0700