การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

เอกสารดาวน์โหลด

รูปแบบบทความวิจัย (.docx)
รูปแบบบทความวิชาการ (.docx)

หลักเกณฑ์การส่งบทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ลักษณะของวารสาร

วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นวารสารเผยแพร่ผลงานวิจัย/บทความวิชาการ และองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของนักวิจัย นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป

ข้อแนะนำทั่วไป

1. เรื่องที่รับพิมพ์ในวารสารต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
2. เนื้อหาของบทความ หรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารฉบับนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป
3. ต้นฉบับต้องได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิก่อนตีพิมพ์

ประเภทของผลงานที่จะรับตีพิมพ์

1. บทความวิจัย (Research articles)
2. บทความวิชาการ (Academic articles)
3. บทความปริทรรศน์ (Review articles)
4. บทวิจารณ์หนังสือ (Book review)

รูปแบบการเตรียมต้นฉบับ

1. ต้นฉบับต้องพิมพ์บนกระดาษขาว ขนาด B5 พิมพ์หน้าเดียว โดยดาวน์โหลดเทมเพลตบทความได้จากลิงค์ด้านบน ใส่เลขหน้ากำกับหน้าทุกหน้า โดยใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16 ถ้ามีภาพประกอบ ควรเป็นภาพถ่ายขาว-ดำที่ชัดเจน นอกจากจำเป็นจึงควรใช้ภาพสี และถ้ามีภาพวาดลายเส้นให้วาดบนกระดาษขาว โดยใช้หมึกดำให้สะอาดและลายเส้นคมชัด ความยาวของเนื้อหารวมภาพและตารางไม่ควรเกิน 30 หน้า

2. การส่งต้นฉบับ ผู้เขียนจัดส่งต้นฉบับทางระบบวารสาร ให้แนบไฟล์ข้อมูลเรื่องเต็มรูปแบบ WORD และ PDF อย่างละ 1 ไฟล์

รายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ

บทความที่ผู้เขียนจัดส่งให้กองบรรณาธิการพิจารณาให้เรียงลำดับตามองค์ประกอบ ดังนี้

1. ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และจัดให้อยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษ ชื่อภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของทุกคำให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่
ชื่อเรื่องภาษาไทย  TH SarabunPSK  ตัวหนา  ขนาด 20
ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ  TH SarabunPSK  ตัวหน้า  ขนาด 18

2. ชื่อผู้เขียน (Authors) ครบทุกคน ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 16 ตัวหนา และให้จัดอยู่ชิดขวาหน้ากระดาษ และกำหนดเชิงอรรถหลังชื่อผู้เขียน (ภาษาไทย) ดังนี้
         2.1 เชิงอรรถหมายเลข ให้ระบุตำแหน่ง หน่วยงานและที่อยู่ที่สังกัดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ E-mail
         2.2 เชิงอรรถเครื่องหมายดอกจัน (ต่อจากเชิงอรรถตัวเลข) ให้ระบุ *Corresponding author email: ของผู้เขียน

3. บทคัดย่อ และ Abstract ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 200 คำ และให้ใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ขนาด 14 ตัวปกติ

4. คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้เลือกคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบทความไม่เกิน 3 คำ โดยพิมพ์ต่อจากส่วนเนื้อหาของบทคัดย่อ และ Abstract ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวปกติ และให้จัดชิดซ้ายของหน้ากระดาษ อักษรตัวแรกของทุกคำให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่

5. เนื้อเรื่อง (Main Body) ให้จัดพิมพ์เป็น 1 คอลัมน์ โดยใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ดังนี้

- หัวข้อใหญ่ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา จัดชิดซ้ายคอลัมน์
- หัวข้อย่อย ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา จัดชิดซ้ายคอลัมน์
- เนื้อความ ใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวปกติ บรรทัดแรกทุกย่อหน้าเยื้อง 0.5 นิ้วของบรรทัดถัดไป ซึ่งบทความวิจัย บทความวิชาการและบทความปริทรรศน์มีส่วนเนื้อเรื่องดังนี้

5.1 บทความวิชาการและบทความปริทรรศน์ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง
5.2 บทความวิจัย ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ของการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และเอกสารอ้างอิง

การเขียนเอกสารอ้างอิง (Reference)

การอ้างอิงเอกสารให้เขียนตามรูปแบบ APA 7th ดังนี้

1. การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

รูปแบบ

 

กรณีเอกสารอ้างอิงปรากฏก่อนข้อความ

ชื่อและนามสกุล (ปีพิมพ์) ………. หรือ ชื่อและนามสกุล (ปีพิมพ์: เลขหน้าที่ปรากฏข้อความ) ……….

กรณีเอกสารอ้างอิงปรากฏท้ายข้อความ

………. (ชื่อและนามสกุล, ปีพิมพ์) หรือ ………. (ชื่อและนามสกุล, ปีพิมพ์: เลขหน้าที่ปรากฏข้อความ)

 

หมายเหตุ: ผู้เขียนที่เป็นชาวต่างประเทศให้ใช้นามสกุล ตามด้วยปีพิมพ์และเลขหน้าที่ปรากฏข้อความ

ตัวอย่าง

ก่อนข้อความ

ทรงศรี สรณสถาพร (2556) อธิบายว่า ......... หรือ ทรงศรี สรณสถาพร (2556: 52) อธิบายว่า .........

ท้ายข้อความ

………. (ทรงศรี สรณสถาพร, 2556) หรือ ………. (ทรงศรี สรณสถาพร, 2556: 52)

ก่อนข้อความ

Cane (2004) ระบุว่า ......... หรือ Cane (2004: 65) ระบุว่า .........

ท้ายข้อความ

………. (Cane, 2004) หรือ ………. (Cane, 2004: 65)

ก่อนข้อความ

อัจฉรา จันทร์ฉาย และศิพัตม์ ไตรอุโฆษ (2562) กล่าวว่า ………. หรือ อัจฉรา จันทร์ฉาย และศิพัตม์ ไตรอุโฆษ (2562:

83) กล่าวว่า ……….

ท้ายข้อความ

………. (อัจฉรา จันทร์ฉาย และศิพัตม์ ไตรอุโฆษ, 2562) หรือ ………. (อัจฉรา จันทร์ฉาย และศิพัตม์ ไตรอุโฆษ, 2562: 83)

ก่อนข้อความ

Warraich & Ameen (2010) อธิบายว่า .......... หรือ Warraich & Ameen (2010: 320) อธิบายว่า ..........

ท้ายข้อความ

………. (Warraich & Ameen, 2010) หรือ ………. (Warraich & Ameen, 2010: 320)

2. การอ้างอิงท้ายบทความ

ให้เขียนเอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แล้วจัดเรียงไว้ท้ายบทความตามลำดับอักษรชื่อและนามสกุลของผู้เขียนชาวไทย หรือนามสกุลของผู้เขียนชาวต่างประเทศ หรือชื่อเรื่องในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน โดยเรียงเอกสารภาษาไทยไว้ก่อนเอกสารภาษาต่างประเทศ ดังตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงท้ายบทความตามประเภทของแหล่งที่ใช้อ้างอิงต่อไปนี้

2.1 หนังสือ

รูปแบบ

 

ชื่อผู้แต่ง.  (ปีพิมพ์).  ชื่อเรื่อง (ครั้งที่พิมพ์).  สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

 

หมายเหตุ: ให้ระบุครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป

ตัวอย่าง

ทรงศรี สรณสถาพร.  (2556).  การอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษอย่างมีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5).  กรุงเทพฯ: วังอักษร.

อัจฉรา จันทร์ฉาย และศิพัตม์ ไตรอุโฆษ.  (2562).  การจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Berry, D. M., & Fagerjord, A.  (2017).  Digital humanities: Knowledge and critique in a digital age. Cambridge,

England: Polity.

Cane, P.  (2004).  Administrative law (4th ed.).  New York: Oxford University Press.

2.2 บทความวารสาร

รูปแบบ

 

ชื่อผู้เขียน.  (ปีพิมพ์).  ชื่อบทความ.  ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), เลขหน้าที่ปรากฏบทความ.

 

ตัวอย่าง

สิริวัจนา แก้วผนึก, ใจทิพย์ ณ สงขลา, และปรัชญนันท์ นิลสุข.  (2562).  การพัฒนาเว็บเพื่อการเรียนรู้โดยใช้วิธีการเล่าเรื่องดิจิทัล

เพื่อส่งเสริมสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรม.  วารสารสารสนเทศศาสตร์, 37(1), 45-66.

Warraich, N. F., & Ameen, K.  (2010).  Employment and learning outcomes of LIS graduates: A case of Pakistan.

Education for Information, 28(2), 315-324.

2.3 วิทยานิพนธ์

รูปแบบ

 

ชื่อผู้เขียน.  (ปีพิมพ์).  ชื่อวิทยานิพนธ์. ระดับของวิทยานิพนธ์, ชื่อมหาวิทยาลัย.

 

หมายเหตุ: วิทยานิพนธ์ภาษาต่างประเทศให้ใส่เครื่องหมายจุลภาคหลังชื่อมหาวิทยาลัย ตามด้วยชื่อประเทศ

ตัวอย่าง

กรกนก บุญมรกต.  (2561).  การศึกษาคำบริภาษในภาษาถิ่นใต้ตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Reinhard, A. R.  (2021).  Stress, burnout, and well-being in new veterinary graduates: Evaluating a pilot

online professional development program. Master’s thesis, University of Kentucky,

United State of America.

พรนภา แสงดี.  (2552).  การพัฒนาวัฒนธรรมสารสนเทศในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Aldridge, D. V.  (1997).  Leadership and management behaviors of the deans of student services within the

Los Angeles Community College District. Doctoral dissertation, Pepperdine University,

United State of America.

2.4 เอกสารการประชุมสัมมนา

รูปแบบ

 

ชื่อผู้แต่ง.  (ปีพิมพ์).  ชื่อบทความ. ใน ชื่อเอกสารการประชุมสัมมนา (หน้าที่ปรากฏบทความ).  สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

 

ตัวอย่าง

นราธิป ปิติธนบดี.  (2564).  การประเมินงานมอบหมายการรู้สารสนเทศของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา. ใน เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา “งานวิจัยและ

นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่” ครั้งที่ 11 (หน้า 245-256).  ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

Castillo, F.  (2019).  Evolutionism in music history: Toward reconciliation. In Proceedings of the 5th Arts &

Humanities Conference (pp.15-24).  Prague, Czech Republic: International Institute of Social and

Economic Sciences.

2.5 บทความในหนังสือพิมพ์

รูปแบบ

 

ชื่อผู้เขียนบทความ.  (ปีพิมพ์, วันที่ เดือน).  ชื่อบทความ.  ชื่อหนังสือพิมพ์,  หน้าที่ปรากฏบทความ.

 

หมายเหตุ: บทความในหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศให้ระบุข้อมูลวันเดือนปีที่พิมพ์เป็น (ปีพิมพ์, เดือน วันที่).

ตัวอย่าง

กันต์ เอี่ยมอินทรา.  (2562, 29 มิถุนายน).  MOOC ตลาดวิชาอนาคตใหม่แห่งการศึกษา.  กรุงเทพธุรกิจ,  หน้า 9.

Chantanusornsiri, W.  (2019, July 25).  Good governance sorely lacking at state-run banks.  Bangkok Post, p.9.

2.6 สัมภาษณ์

รูปแบบ

 

ผู้ให้สัมภาษณ์.  ตำแหน่ง (ถ้ามี).  สัมภาษณ์, วันที่ เดือน ปี.

 

ตัวอย่าง

ณัฐพล รื่นถวิล.  ผู้ใหญ่บ้าน บ้านเทโพ หมู่ 5 ตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.  สัมภาษณ์,

1 กรกฎาคม 2563.

2.7 บทความหรือเอกสารจากอินเทอร์เน็ต

รูปแบบ

 

ชื่อผู้เขียนบทความ.  (ปีพิมพ์).  ชื่อบทความ. สืบค้น วัน เดือน ปี, จาก http://www.xxxxxxx

 

หมายเหตุ: กรณีอ้างอิงบทความภาษาต่างประเทศให้ระบุข้อมูลการสืบค้นว่า Retrieved เดือน วัน, ปี, from http://www.xxxxxxx

ตัวอย่าง

กรมควบคุมโรค.  (2563).  เกณฑ์การพิจารณาตามระดับความรุนแรงของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ระดับประเทศ. สืบค้น 7 ตุลาคม 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/im_commands/

im_commands12_1.pdf

อรรถสิทธิ์ ขจรรุ่งศิลป์.  (2564).  สื่อสารอย่างไรให้คนไทยเชื่อมั่นและฉีดวัคซีน. สืบค้น 7 ตุลาคม 2564, จาก

https://tdri.or.th/2021/06/vaccine-communication/

Thomas, S. J., et al.  (2021).  Six month safety and efficacy of the BNT162b2 mRNA COVID-19 vaccine.

Retrieved October 7, 2021, from https://www.medrxiv.org/content/10.1101/2021.07.28.21261159v1

World Health Organization.  (2021).  COVID-19 vaccine tracker and landscape. Retrieved October 7, 2021,

from https://www.who.int/publications/m/item/draft-landscape-of-covid-19-candidate-vaccines

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารฯ เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ