บทวิเคราะห์การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การบริหารงานของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • วรธา มงคลสืบสกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.3

คำสำคัญ:

การพัฒนาบุคลากร, การบริหารโครงการ, การถอดบทเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการดําเนินงานโครงการของศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ศึกษาบทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นงานวิจัยเชิงประยุกต์ เก็บรวมรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 จำนวน 5 ราย มีการวิเคราะห์สิ่งที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน และถอดบทเรียนจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ ผลการศึกษาพบว่า โครงการดังกล่าวมีจุดแข็ง คือ ผู้จัดโครงการมีทักษะที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้ และการดำเนินโครงการดังกล่าวมีความต่อเนื่องทุกปี จุดอ่อน คือ
การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ครอบคลุม มีเนื้อหาสาระทางวิชาการมากไป และปัญหาที่เกิดจากปัจเจกบุคคล พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการได้บทเรียนที่สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การปลูกจิตสำนึกการเป็นข้าราชการที่ดี 2) การอยู่ร่วมกันภายใต้พหุวัฒนธรรม 3) การมีมุมมองทัศนคติที่ดีต่อกัน 4) การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน และ 5) การเชื่อมโยงบูรณาการการทำงานร่วมกันในหน่วยงานของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา รวมถึงการตัดสินใจในการดำเนินโครงการต่อไป

References

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร. (2563). ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2563-2565. https://shorturl.asia/xEJgY

บุญเอื้อ บุญฤทธ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต, 14(2), 46-57.

ภูมิพัฒน์ จันทร์สว่าง. (2559). แนวทางการเสริมสร้างสันติสุขระดับหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. https://shorturl.asia/oEIQB

รัตนา ดวงแก้ว. (2551). ระบบและกลไกการส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วรางคณา จันทร์คง. (2557). ประสบการณ์ของเด็กปฐมวัยจังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2562). รายงานผลการดําเนินงานประจําปี โครงการภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562.

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. (ม.ป.ป.). ความเป็นมาของศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. https://www.sbpac.go.th/?page_id=6568

สมจิตร ล้วนจำเริญ. (2560). การจัดการการตลาด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อัจฉรา มานิตย์. (2558). การถอดบทเรียนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลธงชัย. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(4), 153-166.

Bluebik Group. (2564). การวิเคราะห์ SWC. https://bluebik.com/th/blogs/2898

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

มงคลสืบสกุล ว. (2024). บทวิเคราะห์การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่รัฐและบุคลากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้การบริหารงานของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 12(1), 31–46. https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.3