ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • บุญเพ็ง สิทธิวงษา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ภัทรพล เสริมทรง คณะสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ไกรสร เดชสิมมา คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • อาทิตย์ แสงเฉวก คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาเขตศรีล้านช้าง

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.1

คำสำคัญ:

การป้องกันอุบัติเหตุ, การลดอุบัติเหตุ, อุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน จำนวน 400 คน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย เจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่นและผู้นำชุมชน จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนมีพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนโดยรวมในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมด้านการบังคับใช้กฎหมายเป็นลำดับแรก รองลงมาคือด้านการเฝ้าระวังและด้านการสร้างจิตสำนึก 2) ปัจจัยด้านบทบาทของภาคีเครือข่าย ด้านบทบาทของท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบังคับใช้กฎหมาย ขับขี่อย่างไม่ประมาท มีสติและสมาธิในการขับรถ ปฏิบัติตามกฎจราจร และนำกฎหมายมาบังคับใช้ในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม (2) ด้านการเฝ้าระวัง สร้างพฤติกรรมหรือการขับขี่โดยไม่ประมาท ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ โดยศึกษาคู่มือจราจรและกฎหมายจราจร ขับขี่ตามกฎจราจร ทำความเข้าใจในการใช้กฎหมาย และจัดให้ความรู้เรื่องกฎหมายจราจรอย่างจริงจัง และ (3) ด้านการสร้างจิตสำนึก จัดทำคู่มือกฎหมายจราจรให้กับประชาชน ตักเตือนผู้ใช้รถใช้ถนนจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุ วางแผนดำเนินการและประเมินผล

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2554). คู่มือ อสม. ยุคใหม่. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิยอด และชัยธรณ์ อุ่นบ้าน. (2562). การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 14(1), 46-59.

จตุภพ ดิษผล และอัญสุรีย์ ศิริโสภณ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนของประชาชนในเขตอำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี: การวิเคราะห์ MIMIC mode. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย สาขาภาคเหนือ, 27(1), 101-112.

จุฬาภรณ์ เหตุทอง, วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย และกุลทัต หงส์ชยางกูร. (2565). บทบาทคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง. Thaksin University Online Journal. https://www.thaiscience.info/Journals/Article/TSUJ/10996878.pdf

ชูเกียรติ ผลาผล, อินทุราภรณ์ อินทรประจบ และสมศักดิ์ จั่นผ่อง. (2564). ถนนปลอดภัย อาสานาฝายร่วมใจป้องกันอุบัติภัยทางจราจร จังหวัดชัยภูมิ. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 11-29.

นิภา เสียงสืบชาติ. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการขับขี่ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลิดสิน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วันทนา ไพศาลพันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 5(1), 103-112.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2545). 10 แนวทางสร้างสุขภาพ: พฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการ.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28

How to Cite

สิทธิวงษา บ., เสริมทรง ภ., เดชสิมมา ไ., & แสงเฉวก อ. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ของประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 12(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/husoaru.2024.1