การระรานทางสื่อสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาการแสดงความคิดเห็นในเพจ “Blasian Chick”

ผู้แต่ง

  • ชญานนท์ ชมดี สถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • วิเชษฐชาย กมลสัจจะ สาขาวิชาภาษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.9

คำสำคัญ:

การระรานทางสื่อสังคมออนไลน์, การแสดงความคิดเห็นบนเฟซบุ๊ก, เพจ “Blasian Chick”

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะประชากรของผู้ระรานทางสื่อสังคมออนไลน์ในเพจ “Blasian Chick” และ 2) ศึกษาลักษณะของการระรานทางสื่อสังคมออนไลน์ในเพจ “Blasian Chick” วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (mixed methods research) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ นำเสนอด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ด้านลักษณะประชากร พบผู้ระรานเพศชายมากที่สุด รองลงมาคือไม่ระบุตัวตน และเพศหญิง ตามลำดับ ส่วนในด้านลักษณะของการระราน พบการการะรานที่กล่าวถึงรูปลักษณ์มากที่สุด รองลงมาคือการใช้คำหยาบ และชาติพันธุ์ ตามลำดับ ทำให้เห็นลักษณะของการระรานทางสื่อสังคมออนไลน์เกิดขึ้นจากโครงสร้างทางสังคมหลากหลายปัจจัยประกอบกัน ทั้งในเรื่องบรรทัดฐานทางความสวย ภายใต้ระบอบปิตาธิปไตยที่พบประชากรผู้ระรานเพศชายมากที่สุด อคติ ปัญหาการไม่ยอมรับความแตกต่างที่สร้างความเป็นอื่นให้เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมถึงมุมมองของผู้ระรานที่มีต่อการระรานว่าเป็นเพียงเรื่องสนุกสนาน ไม่รุนแรง ประกอบกับการพบประชากรผู้ระรานที่ไม่ระบุตัวตนมากเป็นอันดับสอง ทำให้เห็นว่าสื่อสังคมออนไลน์ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สถานที่ และสามารถปิดบังตัวตนได้ จึงเอื้อให้เกิดความรุนแรงในการระราน ปัจจัยดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้การระรานมีความรุนแรงและยังคงอยู่ในปัจจุบัน

References

กรมสุขภาพจิต. (2564ก). บูลลี่ (Bully) คืออะไร มีกี่ประเภท วิธีที่จะรับมือจากการโดนบูลลี่. https://www.dmh.go.th/newsdmh/view.asp?id=30612

กรมสุขภาพจิต. (2564ข). หยุด Cyberbullying กลั่นแกล้ง โจมตีผ่านโซเชียล คิดต่างได้ แต่ควรเคารพในความต่าง. https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30362

ชุตินาถ ศักรินทร์กุล และอลิสา วัชรสินธุ. (2557). ความชุกของการข่มเหงรังแกและปัจจัยด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องในเด็กมัธยมต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(3), 221-230.

ณัฐพล ม่วงทำ. (2564). รายงานสถิติ Thailand digital stat 2021 จาก We are social. การตลาดวันละตอน. https://www.everydaymarketing.co.th/knowledge/thailand-digital-stat-2021-we-are-social/

นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2560). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ความรุนแรงที่ต้องแก้ไขและนวัตกรรมการจัดการปัญหา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 1(9), 100-106.

พรชนก ดาวประดับ. (2561). รูปแบบและลักษณะการมีส่วนร่วมในการกลั่นแกล้งบนพื้นที่ สาธารณะออนไลน์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 4(3), 63-78.

พรรณศักดิ์ สุขี. (2553). ศรัทธาไม่มีสี ความดีไม่มีฝ่าย: แก่นความคิดเรื่องความแตกต่าง คุณค่าและคุณธรรมในละครเพลงเรื่อง “ข้าวนอกนา”. วารสารนักบริหาร, 32(1), 59-64.

พินวา แสนใหม่. (2563). การรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุ และแนวทางการจัดการปัญหา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มาลี นิ่มสกุล. (2561). การรู้เท่าทันสื่อของเด็กและเยาวชนภายใต้วาทกรรมความสวยในโฆษณาโทรทัศน์. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 26(2), 59-80.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2554). ความหมายของชาติพันธุ์. https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=23&chap=5&page=t23-5- infodetail01.html

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. (2561). การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying). นัชชาวัตน์.

วอยซ์ ทีวี (Voice TV). (2564). คุณคิดว่า 'คนไทย' ไม่บูลลี่เหรอ. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=hbOvyO65PUY&t=262s

สหภาพ พ่อค้าทอง. (2555). ความขาว วัฒนธรรมใหม่ของสังคมไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 23(1), 39-56.

สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพบก. (2563). Cyberbullying การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์. มัฆวาน, 58, 13-20.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหวเกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). การระรานทางไซเบอร์. https://www.facebook.com/RatchabanditThai/photos/cyber-bully

อนุพงศ์ สุขเกษม. (2563). พฤติกรรมและเจตคติการระรานทางไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. จันทรเกษมสาร, 26(2), 297-313.

Blasian Chick [มีวีดิทัศน์แนบ]. (28 กรกฎาคม 2564). Facebook. https://fb.watch/iKCQ3zWj7q/

Ferrara, P., Ianniello, F., Villani, A., & Corsello, G. (2018). Cyberbullying a modern form of bullying: Let’s talk about this health and social problem. Italian Journal of Pediatrics, 44(14), 1-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26

How to Cite

ชมดี ช., & กมลสัจจะ ว. (2023). การระรานทางสื่อสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาการแสดงความคิดเห็นในเพจ “Blasian Chick”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(2), 1–20. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.9