การประเมินโครงการศูนย์แยกกักตัวในชุมชนกรณีการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019:โรงเรียนบ้านห้วยหาน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

The Project Evaluation of Community Isolation: Case of COVID-19 Outbreak at Ban Houihan School, Wiangkaen District, Chiang Rai Province

ผู้แต่ง

  • อดิศร ภู่สาระ อดิศร

คำสำคัญ:

: การประเมินโครงการ,ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน,โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการศูนย์แยกกักตัวในชุมชน โรงเรียนบ้านห้วยหาน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย 2) ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดของการดำเนินงานศูนย์แยกกักตัวในชุมชน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะ แนวทางปรับปรุงการดำเนินงานศูนย์แยกกักตัวในชุมชน กรณีเกิดภัยพิบัติชนิดอื่นในอนาคต ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ตามแบบจำลองซิปป์ (CIPP) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการแยกแยะข้อมูลและการตรวจสอบคุณภาพการวิจัยแบบสามเส้าจากตัวแทนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ

            ผลการวิจัยพบว่า

            1.บริบทของการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในชุมชน พบผู้ป่วยจำนวนมากเกินความสามารถในการรองรับผู้ป่วยของโรงพยาบาลจึงส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากกลับมารักษาตัวในศูนย์แยกกักตัวในชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคสู่ครอบครัวและชุมชน ปัจจัยนำเข้าจากความพร้อมของอาคารสถานที่ และบุคลากรจากหน่วยงานภายในชุมชนและการสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เวชภัณฑ์จากหน่วยงานระดับอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระบวนการจากการกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร การรักษาพยาบาลผู้ป่วยตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข การกำหนดติดตามงานและการปรับปรุงงาน โดยหัวหน้าหน่วยงานภายในชุมชน ผลผลิตภายในระยะเวลา 1 เดือน มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษา 84 คน ไม่พบผู้เสียชีวิต ผู้ป่วยและญาติพึงพอใจ เนื่องจากมีความสะดวกในการเยี่ยมเยียน ผู้ป่วยมีสุขภาพจิตดี บุคลากรผู้ปฏิบัติงานมีความภูมิใจต่อความสำเร็จของงาน

          2.ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของงานคือ การวางแผนโครงการที่ไม่สามารถระบุจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อที่จะเข้ามารักษาตัว รวมถึงระยะเวลาในการดำเนินงาน ส่งผลให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความเหนื่อยล้า และการเบิกจ่ายงบประมาณตามระเบียบของทางราชการ

            3.ข้อเสนแนะและแนวทางการปรับปรุงเมื่อเกิดภัยพิบัติสามระยะ คือ ระยะก่อนเกิดภัยพิบัติ ชุมชนควรวางแผนป้องกันและแผนการดำเนินการเตรียมความพร้อมของอาคารสถานที่ บุคลากรและงบประมาณ ระยะที่เกิดภัยพิบัติการดำเนินการตามแผน การควบคุมการอพยพ การบริหารอาคารสถานที่ การดูแลรักษาความปลอดภัย การจัดเครื่องอุปโภคบริโภค การขนส่งและสื่อสาร และการสร้างเครือข่ายให้ความช่วยเหลือ ระยะหลังเกิดภัยพิบัติ การส่งผู้ประสบภัยกลับ การป้องกัน การตีตราทางสังคม การฟื้นฟูอาคารสถานที่ และการดำเนินงานด้านงบประมาณ

คำสำคัญ  : การประเมินโครงการ,ศูนย์แยกกักตัวในชุมชน,โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

References

กัมปนาท วุฒิการกำจร.(2560).การบริหารจัดการและส่งมอบความช่วยเหลือของอุปโภคบริโภคในสถานการณ์ฉุกเฉิน

แก่ผู้ประสบภัย.(การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,ปทุมธานี.

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และบุญมา สุนทราวิรัตน์.(2564).แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา

(โควิด 19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 7(1) ,16-34.

ชนิดาภา จันทร์แก้ว และพีระพงศ์ ภักคีรี.(2564).การบริหารจัดการในการจัดตั้งศูนย์พักคอยเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ใน

พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเกษตรสุวรรณ อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. รวมบทความวิจัยการศึกษาอิสระโครงการ

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชุลีกร ธนธิติกร.(2564).ระบบและประสิทธิผลการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ : กรณีศึกษา

หอผู้ป่วยเฉพาะกิจ กรมควบคุมโรค.วารสารควบคุมโรค. 47(เพิ่มเติม 2),1138 – 1150.

บัณฑิต เกียรติจตุรงค์.(2564).การพัฒนารูปแบบภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.3(2),193-206.

ประภัสสร เจริญนาม.(2561).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงพยาบาลชุมชนในเขตบริการสุขภาพที่ 3-6.

(ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.

พิสิษฐ์ บุญถนอม.(2563).แนวทางการดำเนินงานเพื่อความสำเร็จในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนกับองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา : องค์การบริหารส่วนตำบล บางสะแก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม.(วิทยานิพนธ์

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร,นครปฐม.

ศิริพร จันทร์หอม.(2562).การศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดซื้อเวชภัณฑ์โดยการนำแนวคิดระบบการผลิตแบบลีน มา

ประยุกต์ใช้ กรณีศึกษาการจัดซื้อเวชภัณฑ์ลักษณะฝากขาย โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ.(การค้นคว้า

อิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี,ปทุมธานี.

อุษา คำประสิทธิ์.(2565).การพัฒนารูปแบบการบริหารพยาบาลในสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 แผนกผู้ป่วยใน

โรงพยาบาลโนนไทย.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9.6(1) ,30-34.

เอราวัณ ฤกษ์ชัย.(2563).การนำนโยบายป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19ไปปฏิบัติกรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.รวมบทความวิจัยการศึกษาอิสระโครงการรัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง,กรุงเทพฯ.

ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง และคณะ.(2564).กลไกการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบล ควนปริง อำเภอ

เมือง จังหวัดตรัง.วารสารการบริหารท้องถิ่น. 14(3),291-308.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-06