กระแสการปฏิรูประบบสุขภาพบนฐานแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ษิตาพร สุริยา มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การปฏิรูประบบสุขภาพ, รัฐประศาสนศาสตร์, การจัดการภาครัฐใหม่, การบริการภาครัฐใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงภาพของกระแสการปฏิรูประบบสุขภาพในบริบทของสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ทั้งสภาพแวดล้อมทางด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ซึ่งส่งผลให้การบริหารจัดการของภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลทางด้านระบบสุขภาพนั้นมีความจำเป็นต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงไปสู่การดำเนินงานในรูปแบบใหม่ เพื่อสามารถรับมือต่อสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ในสังคมปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น ก็เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่เปลี่ยนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพที่เพิ่มขึ้น ถ้าหากการบริหารจัดการของหน่วยงานหรือองค์การที่รับผิดชอบดูแลทางด้านระบบสุขภาพมีประสิทธิภาพที่ดี ย่อมจะทำให้ประชาชนในประเทศมีคุณภาพชีวิต ทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีตามไปด้วย โดยบทความชิ้นนี้ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วน เริ่มจากส่วนแรกจะกล่าวถึงการก้าวข้ามผ่านจากระบบราชการแบบดั้งเดิมไปสู่ความเป็นองค์กรอิสระของหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลทางด้านระบบสุขภาพและแยกตัวออกมาจากกระทรวงสาธารณสุข สำหรับส่วนที่สองจะกล่าวถึงการจัดการภาครัฐใหม่สู่การปฏิรูประบบสุขภาพอันเป็นแนวคิดในการเกิดองค์กรอิสระ และส่วนสุดท้าย เป็นการนำเสนอแนวคิดการบริการภาครัฐใหม่มาเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะนำไปสู่การปฏิรูประบบสุขภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

References

นพดล เฮงเจริญ. (2549). องค์กรอิสระ: ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ. Public Law Net: เครือข่ายกฎหมายหมาชนไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 58.จาก http://www.pub-law.net/publaw/view.aspx?id=895.

สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทยจีน.(2552). ตอนที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยโบราณ.สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 58 จาก http://thaizhong.org/index.php?option=com_content&view=article&id=54:special-art1&catid=41:สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุงเล่ม3(ตอนปลาย).

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (มปป.). ระบบราชการไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 58. จาก http://job.ocsc.go.th/images/Knowledge/634231800187767500.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2557). ระบบบริหารราชการของราชอาณาจักรไทย. โครงการสื่อการเรียนรู้ “อาเซียน กูรู” (Learning Package). นนทบุรี: สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2554) . เหลียวหลังแลหน้า 1 ทศวรรษสมัชชาสุขภาพ. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 58 จาก https://suchons.wordpress.com/2011/07/09/เหลียวหลังแลหน้า-1-ทศวรรษ/

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2558) .ปฏิรูปสุขภาพ ใช้สมองไม่ก่อบาป. ไทยรัฐ ฉบับพิมพ์วันที่ 3 กรกฎาคม2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 58 จาก http://www.thairath.co.th/content/508914.

Barzelay, Michael and Armajani, Babak J. (1995). “Breaking Through Bureaucracy” in Parson, W.1995. Public Policy: An Introduction to The Theory and Practice of Policy Analysis. Cambridge: University Press, pp. 491-513.

Barzelay, M. (2001). The New Public Management: Improving Research and Policy Dialogue. Berkeley, CA: University of California Press.

Denhardt, Janet V. and Denhardt, Robert B. (2007). The New Public Service: Serving, Not Steering. New York and London: M.E. Sharpe.

Fayol, H. (1949). General and Industrial Management. (trans. C Storrs). London: Pitman and sons.

Goodsell, Charles T.(1994). The case for bureaucracy: a public administration polemic (3rd ed.). Chatham, NJ: Chatham House Publishers. 212 p.

Hussey, David E. (1974). Corporate Planning: Theory and Practice. Pergamon Press. 399 p.

Henry, N. (2010). Public Administration and Public Affairs. 11th ed. New York: Longman.

Stivers, Camillam. (1990). “Active Citizenship and Public Administration” in Wamsley, Gary L. Refunding Public Administration. California: Sage Publication., pp. 246-273.

Weber, Max.(2007).“Bureaucarcy”in Shafritz,Jay M. and Hyde, Albert C. Classics of Public Administration. Wadsworth: Cengage Learning, pp. 43-48.

Zaharia, P.(2012). Introduction of The New Public Management in The Romanian and Swiss Local Public Administration. Economic Insights – Trends and Challenges, Vol. I (LXIV)., pp. 70-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06

How to Cite

สุริยา ษ. (2022). กระแสการปฏิรูประบบสุขภาพบนฐานแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 3(2), 208–228. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260670