แนวคิดการบริหารงานสาธารณะ: จากภาครัฐสู่ภาคพลเมือง

ผู้แต่ง

  • นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ คณะมนูษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

รัฐประศาสนศาสตร์, รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง, พลเมือง

บทคัดย่อ

นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา กระแสการบริหารงานภาครัฐให้ความสนใจกับกรอบแนวคิดการดำเนินการที่เรียกว่า การจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management) สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและซับซ้อนเสียจนมีผลให้การจัดการภาครัฐแนวเก่า (Old Public Administration)เกิดความบกพร่องล่าช้า และไม่สามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองพลวัตของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกัน การจัดการภาครัฐแนวใหม่มุ่งเน้นไปที่การจัดการแบบธุรกิจเอกชน ทั้งยังลดทอนและพุ่งเป้าไปที่การกระจายอำนาจของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งละเลยความจริงที่ว่า ประชาชนนั้นไม่ใช่ลูกค้า หากแต่เป็นพลเมืองที่มีความห่วงใยในประโยชน์สาธารณะและมีจิตบริการสาธารณะอยู่ในตนเอง ซึ่งข้อสมมุติฐานดังกล่าวเป็นหัวใจของการบริการสาธารณะแนวใหม่ (New Public Service) ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นพลเมือง (Citizenship) จึงอาจกล่าวได้ว่า กรอบแนวคิดของรัฐประศาสนศาสตร์แบบเดิมไม่เพียงพอต่อพัฒนาการของสังคมระบอบประชาธิปไตยเช่นในปัจจุบันแล้ว แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง (Civic Public Administration) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยสนับสนุนการนำประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมือง เพื่อให้การดำเนินการทางสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง และยังเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลที่ยืดเยื้อมานาน ประกอบกับมุ่งสร้างให้มีการปกครองตนเอง (Self-Government) อันเป็นแนวทางประชาธิปไตยที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนกลายเป็น “พลเมือง” ได้อย่างเต็มภาคภูมิ การที่ประชาชนมีสำนึกพลเมืองและเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารงานบ้านเมืองเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีในสังคมไทย ทว่าวัฒนธรรมความเป็นไทยที่ฝังลึกมาช้านาน ควรได้รับการเปลี่ยนแปลงด้วย เพื่อเพิ่มความเป็นพลเมืองของประชาชนไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พร้อมเป็นฟันเฟืองสำคัญในการสนับสนุนการบริหารภาครัฐไทย

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2555). ความสำคัญของพลเมืองต่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับ อนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

โกวิทย์ กังสนันท์. จริยธรรมของการบริหารภาครัฐแนวใหม่ (Ethics of New Public Management). ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2557. จาก http://www.kpi.ac.th

เดวิด แมทธิวส์ เขียน วันชัย วัฒนศัพท์ แปลและเรียบเรียง. (2542). การเมืองภาคพลเมือง: ค้นหาเสียงสาธารณชนที่มีความรับผิดชอบ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.

ทิพย์พาพร ตันติสุนทร. (2555). สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นพปฎล สุนทรนนท์. (2554). มิติใหม่ของการจัดการภาครัฐ. ค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2557. ค้นจาก http://www.iparsu.org

นิศาชล พรหมรินทร์. (2555). วิวัฒนาการกระบวนทัศน์รัฐประศาสนศาสตร์ไทย: บทสำรวจวรรณกรรมรัฐประศาสนศาสตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรีชา อุยตระกูล. (2554). ประชาธิปไตยทางตรง :กระบวนการประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารืออย่างมีวิจารณญาณ Direct Democracy: Deliberative Democracy. กรุงเทพฯ. สภาพัฒนาการเมือง.

พัชรี สิริวัฒนาศาสตร์. New Public Management (การจัดการภาครัฐแนวใหม่). ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2557. ค้นจาก http://www.GotoKnow.com

พัชรี สิโรรส. การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557. ค้นจาก http://www.polsci.chula.ac.th/prapart/การเมืองภาคประชาชน14022551/ประชาธิปไตยทางตรง11022551/deliberative_democracy_24_08_07.pdf

วลัยพร ชิณศรี. (2556). ความรู้เบื้องต้นทางรัฐประศาสนศาสตร์ (Introduction to Public Administration). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2552). แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ การประยุกต์ และการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โฟร์เพส.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2555). วิถีไทยกับการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองไท. สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สุรพันธ์ ทับสุวรรณ์. (2551). รัฐศาสตร์ทั่วไป (Introduction to Political Science). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมพร ใช้บางยาง. (2554). การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น :ความสำเร็จ และความท้าทาย. สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2552). แปรถิ่นเปลี่ยนฐาน: สร้างการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อเนก เหล่าธรรมทัศน์ และวลัยพร รัตนเศรษฐ. (2557) รัฐประศาสนศาสตร์พลเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Charles N.Quigley. (2555). Citizenship and Democracy Experiences: International Perspectives”. สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 13 เรื่องความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

David Osborne and Ted Gaebler. (1992). Reinventing Government. Plume of Penguin Books.

Janet V. Denhardt and Robert B. Denhardt. (2003). The New Public Service: Serving not steering. M.E. Sharpe.

Jay M.Shafritz, E.W. Russell and Christopher P. Borick. (2009). Introducing Public Administration (6th Ed.). Pearson Education, Inc.

Jingjai Hanchanlash.(2555). Citizenship and Democracy Experiences: International Perspectives. สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

R.K Sapru. (2006). Administrative Theories And Management Thought (2Nd Ed.)”, PHI Learning Pvt. Ltd.

Michael Volpe. (2555). ความเป็นประชาชน พลเมือง และการมีส่วนร่วมของพลเมือง. สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 เรื่อง ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06