แม่โพสพ : ตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรม บนวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของชาวนาเมืองเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • วิฑูรย์ คุ้มหอม

คำสำคัญ:

แม่โพสพ, ความเชื่อ, พิธีกรรม

บทคัดย่อ

แม่โพสพเป็นเทวดาผู้หญิงที่ดูแลต้นข้าว มีตำนานเล่าขานความเป็นมา มีความเชื่อที่ชาวบ้านรับรู้ และนำสู่การมีพิธีกรรมต่อแม่โพสพ ตำนานจากการเป็นเทวดาแล้วลงมาช่วยเหลือมนุษย์ มีบางช่วงหนีไปในป่าเพราะมนุษย์ไม่รู้บุญคุณ ความเชื่อในการทำนาให้ได้ผลดีเกี่ยวข้องกับขวัญของแม่โพสพที่เกี่ยวโยงกับฤกษ์ยามในการทำนา และพิธีกรรมที่ชาวนาต้องปฏิบัติต่อแม่โพสพเพื่อความอุดมสมบูรณ์  การเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของชาวนาเมืองเพชรบุรีส่งผลการรับรู้เรื่องราวของตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรมที่ปฏิบัติในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นพิธีกรรมส่วนบุคคลไม่ใช่พิธีกรรมของชุมชนเช่นอดีต และปรับเปลี่ยนเป็นพิธีกรรมเพื่อตอบสนองการค้าขายของปัจเจกบุคคลในสังคมปัจจุบัน

References

นฤจร อิทธิจีระจรัส. (2527). ข้าวกับมนุษย์:นิเวศวิทยาทางการเกษตรในเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์. (2527). มานุษยวิทยากับการศึกษาคติชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). บทสังเคราะห์เรื่องเล่าพื้นบ้านไทย: การนำไปประยุกต์ใช้และ “พื้นที่ทางสังคม”ในปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06