การประเมินผลการให้บริการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พัชราภา ภาคเรณู สำนักงานคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การประเมินผลการให้บริการจัดเก็บภาษี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการให้บริการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะการให้บริการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้เสียภาษีในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 241 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินผลการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก คือด้านสภาพแวดล้อมส่วนด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง และ 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการให้บริการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเรียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ 2.1) ด้านสภาพแวดล้อมพบว่าจุดบริการชำระภาษีคับแคบไม่เป็นระเบียบข้อเสนอแนะควรแยกจุดบริการชำระภาษีออกมาให้เป็นสัดส่วน 2.2) ด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีความพร้อมในการให้บริการข้อเสนอแนะควรส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรม 2.3) ด้านกระบวนการพบว่าไม่มีการรับบริการนอกสถานที่ข้อเสนอแนะควรจัดหน่วยบริการรับชำระภาษีนอกสถานที่ในวันหยุดราชการโดยประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบล่วงหน้า และ 2.4) ด้านผลผลิตพบว่าการจัดทำโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนบางกลุ่มข้อเสนอแนะควรพิจารณาอนุมัติโครงการต่าง ๆ ตามความจำเป็นเร่งด่วนของชุมชน

References

จีรารัตน์ หอมเย็นใจ. (2550). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการชำระภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลสระกระโจม. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุติมา อินตา. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการให้บริการชำระภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ฐิติยา มหาอุตย์. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการให้บริการรับชำระภาษีบำรุงท้องที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มลฑกาล ครุฑจีน. (2556). ความคิดเห็นของประชาชนต่อสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านชุ้ง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์,มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ฤทธิชัย เจนจิจะ. (2548). การประเมินผลการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบล : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตก อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน.การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริรัตน์ ชีพสมุทร์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อการชำระภาษีท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรรัตน์ หมอยาเก่า. (2555). ทัศนคติของประชาชนต่อการให้บริการจัดเก็บภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกคอน อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อุไรลักษณ์ เรือนสิงห์. (2550). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลแม่วาง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06