การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยเทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • จิรัฏฐ์ หัสสา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 14 อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

เทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์, เจตคติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยเทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ก่อนเรียนและหลังเรียน  2) ศึกษาเจตคติต่อการจัดการเรียนการสอนเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 14  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 จำนวน 30 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเจาะจง (specific sampling)

การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ชุดและ 3)แบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ชุดการดำเนินการทดลองใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์ ๆ ละ   2 ชั่วโมง ทั้งหมด 20 ชั่วโมง โดยผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.  นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษก่อนเรียนเท่ากับ 233คิดเฉลี่ยร้อยละ83 และหลังเรียนเท่ากับ 433 คิดเป็นเฉลี่ยร้อยละ 72.12 เมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย พบว่า ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.  นักเรียนมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 84.00 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.79 พบว่า นักเรียนมีเจตคติอยู่ในระดับดีต่อการจัดการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ประยงค์ กลั่นฤทธิ์. (2556). การสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ส่งเสริมวิชาการ.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2556). ก้าวสู่อาเซียน รู้เขา รู้เรา รู้รอบ. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2556). ทิศทางเข้าสู่ประชาคมโลกของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล.

Aaron, J.E. (2005). LB Brieft: Little Brown handbook, brief vision. New York: Pearson Education, Inc.

Brown, k. & Hood, S. (1989). Writing Matters. Honk Kong: Cambridge University Press.

Dornyei, Z. (2005). The psychology of language learner Mahwah. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.

Finocchiaro, M., & Brumfit, C. (1989). The function- nation approach: From topractice.New York: Oxford University Press.

Hedge, T. (2008). Teaching and learning in the language classroom. 10th ed. New York:OxfordUniversity Press.

Lo J.T & Hyland, F. (2007). Enhancing students’ engagement and motivating in writing: The case ofprimary students in Hong Kong. Journal of second Language writing, 16(1): 219-231.

Liu, J. (2012). Schema Theory and Its Instructional Applications on EFL. US-China ForeignLanguage,10(2): 915-920.

Mclver J.P & Carmines, E.G. (1981). Unidimentional Scaling. London: Sage Publication.

Nunan, D. (1999). Second language teaching & learning. Cannada: Heinle & Heinle Publishers.

Perkins, D.N. (1984). “Creativity by Design”. Educational Leadership, 42(2): 18-25.

Raimes, A. (1983). Techniques in Teaching Writing. New York: Oxford University Press.

Wyrick, J. (2005). Step to Writing Well. New York: Michael Rosenberg.

Zhang, Y. (2010). Investigating the Role of Metacognitive Knowledge in English Writing. HKBU Papers in Applied Language Studies, 14(1): 4-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06

How to Cite

หัสสา จ. (2022). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยเทคนิคการออกแบบการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 3(2), 64–76. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260652