การสื่อสารระหว่างบุคคลกับการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อิทธิเทพ หลีนวรัตน์ คณะมนูษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การสื่อสารระหว่างบุคคล, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การสื่อสารระหว่างบุคคลกับการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเข้าใจลักษณะบุคลิกภาพของบุคคลที่มีผลต่อผู้รับสารในการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ 2) เพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจในการระหว่างบุคคลที่มีผลต่อผู้รับสารในการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผู้วิจัยได้นำแนวคิด ทฤษฎีดังต่อไปนี้มาเป็นกรอบในการศึกษาในการศึกษาดังนี้ 1) แนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพของลักษณะบุคคล และ 2) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการโน้มน้าวใจในการสื่อสารระหว่างบุคคลผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview)

ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพของบุคคลที่มีผลต่อผู้รับสารในการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบเพียง 4 บุคลิกภาพ ได้แก่ 1) บุคลิกภาพแบบมั่นคง (Stable Personality)    ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบมั่นคงจะมีลักษณะที่โดดเด่น คือ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สุขุม มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน เป็นที่ไว้วางใจได้แก่ผู้อื่น มีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มองโลกในด้านดี มีคุณธรรม และไม่โทษผู้อื่น บุคลิกภาพแบบมั่นคงนี้จะมีอิทธิพลต่อผู้รับสารมากเนื่องจาก เป็นบุคลิกภาพที่มีความรับผิดชอบมีหน้าที่การงานที่ดี มีการควบคุมอารมณ์ได้ดี 2) บุคลิกภาพแบบเรียกร้องความสนใจ (Histrionic Personality) ผู้ที่มีบุคลิกภาพโดดเด่นแบบนี้มักจะเป็นคนที่ชอบเรียกร้องความสนใจ ชอบแสดงออกมากจนอาจถึงขั้นชอบยั่วยวนทางเพศ แสดงอารมณ์มากกว่าปกติ อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว สนใจตนเองมาก บุคลิกภาพแบบนี้จะถูกใช้ในกรณีที่มีการเชิญชวนให้ไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกสถานที่ตามร้านอาหาร ผับ บาร์ เนื่องจากจะใช้การแต่งตัว รูปร่างหน้าตา ของบุคคลที่มาเชิญชวนทำให้ผู้รับสารเกิดความสนใจ และอยากไปร่วมกิจกรรมสังสรรค์ด้วย 3) บุคลิกภาพแบบก้าวร้าว (Aggressive Personality) ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มักจะเป็นคนที่แสดงออกก้าวร้าว ทั้งการพูดจาแข็งก้าว สีหน้าบึ้งตึง เคร่งเครียด อารมณ์รุนแรง ไม่ค่อยเกรงใจผู้อื่น ขาดความนอบน้อม บุคลิกภาพนี้จะถูกนำมาใช้พิจารณาประกอบการตัดสินใจไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย เนื่องจากเวลาดื่มด้วยแล้วจะเกิดความไม่สบายใจ อึดอัด และ 4) บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality) มีลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้จะมีการแสดงออกที่ไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น ชอบก่อกวน ข้อแย้ง มีสัมพันธภาพกับผู้อื่นแต่ไม่ลึกซึ้ง ไม่สนใจกฎระเบียบ ไม่อดทนต่อคำวิจารณ์ ตัวเองจะรู้สึกอึดอัดคับข้องใจเมื่อถูกคนอื่นตักเตือน ห้ามปราบในสิ่งที่ตนเองกำลังทำอยู่

ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากบุคลิกภาพของผู้ที่มาเชิญชวนให้ไปดื่มแล้วนั้น ตัวแปรเรื่องเพศเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลที่สำคัญด้วยเช่นกัน

References

ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2533). การสื่อสารระหว่างบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ณ ฌาน.

นพมาศ อุ้งพระ (ธีรเวคิน). (2545). สังคมประกิตและพัฒนาของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บัณฑิต ศรไพศาล และคณะ. (2551). รายงานสถานการณ์สุราประจำปี พ.ศ. 2551.

วิภาวี ฝ้ายเทศ. (2549). เอกสารประกอบการสอนรานวิชาหลักนิเทศศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วุฒิพงศ์ ถายะพิงค์. (2558). บุคลิก พลิกชีวิต.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี.

สํานักงานสถิติแห่งชาติ.การสํารวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2550.กรุงเทพฯ: สํานักงานสถิติแห่งชาติ, 2551.

สุรัตน์ ตรีสกุล. (2546). หลักนิเทศศาสตร์.กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2551). สถานภาพการบริโภคสุรา พ.ศ. 2550.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McCroskey, J.C., & Richmond, V.P. (1987). Willingness to communication and interpersonal communication. In J.C. McCroskey and J.A. Daly (Eds.), Personality and Interpersonal Communication, Beverly Hills, C.A: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-06