ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกองนักเรียนโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ
คำสำคัญ:
ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงาน, บุคลากร, กองนักเรียนโรงเรียนจ่าอากาศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกองนักเรียน โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองนักเรียน โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรกองนักเรียนโรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกองนักเรียน โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านผู้นำองค์กรและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการฝึกอบรม และ 2) แนวทางการพัฒนาความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรกองนักเรียน โรงเรียนจ่าอากาศ กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ คือ 1) ด้านผู้นำองค์กร ผู้นำองค์กรควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2) ด้านกฎ ระเบียบ วินัย หน่วยงานควรปลูกฝังให้บุคลากรมีความรักหมู่คณะ 3) ด้านการฝึกอบรม หน่วยงานควรสำรวจความต้องการจัดฝึกอบรมของบุคลากร และ 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม บุคลากรควรมีความยุติธรรมในการใช้อำนาจหน้าที่อย่างชอบธรรม
References
ตุลา มหาพสุธานนท์. (2554). หลักการจัดการ. กรุงเทพฯ : พี เอ็น เค แอนด์ สกายพริ้นติ้งส์.
วิเชียร ใจดี. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรจังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขวงวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศิริภัสสรค์ วงสศ์ทองดี. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์=Human research development. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดา มันทะขัติ. (2555). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา. การค้นว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา.
อุษณีย์ จิตตะปาโล. (2540). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา