การปรับวงเพื่อการประชันสำหรับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

ผู้แต่ง

  • เอกสิทธิ์ สุนิมิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • นภัสนันท์ จุนนเกษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ปานหทัย สุคนธรส คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ประชัน, หน้าทับ, เดี่ยว

บทคัดย่อ

วัฒนธรรมทางดนตรีของไทย มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กระทั่งรัตนโกสินทร์ จากดนตรีชาวบ้านสู่แบบแผนของดนตรีไทยอันเป็นอัตลักษณ์ วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในทุกยุคสมัย ใช้บรรเลงในพิธีกรรมที่แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ บรรเลงประกอบการแสดง บรรเลงเพื่อความบันเทิง รวมถึงการประชัน บรรดาขุนนางและเจ้านายในยุคก่อนต่างสรรหา ฝึกซ้อมเพื่อให้ได้นักดนตรีมากความสามารถไว้ประจำวังของตน เมื่อความนิยมมีมากขึ้นเช่นนี้ การประชันจึงมีขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่านักดนตรีสำนักใด วังใดมีความสามารถสูงที่สุด นอกจากการประชันจะแสดงให้เห็นถึงทักษะในการบรรเลงเครื่องดนตรีแล้ว ยังถ่ายทอดภูมิรู้ของผู้ประดิษฐ์ทางเพลงในการดำเนินทำนองของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ที่จะต้องใช้ความรู้ทางด้านทฤษฎีดนตรีอย่างละเมียดละไม ในการประดิษฐ์ทางเพลงให้เหมาะสม สละสลวยในทุกเครื่องมือ

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2545). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์. (2542). สังคีตนิยม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2554). ปฐมบทดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่2. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์.

มนตรี ตราโมท. (2540). คำบรรยายวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : ศิลปะสนองการพิมพ์.

เรณู โกศินานนท์. (2535). นาฏดุริยางคสังคีตกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2540). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิทธิพล ใจสมัคร. (2542). ดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่30. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

บุญสร้าง เรืองนนท์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). เอกสิทธิ์ สุนิมิตร (ผู้สัมภาษณ์), 193 ถนนหลานหลวง เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ , วันที่ 1 ตุลาคม 2559

ชัยยุทธ โตสง่า (ผู้ให้สัมภาษณ์). เอกสิทธิ์ สุนิมิตร (ผู้สัมภาษณ์), 24/178หมู่บ้านวราบดินทร์ ต.บึงคำพร้อยอ.ลำลูกกาจ.ปทุมธานี , วันที่ 1 ตุลาคม 2559

ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์). เอกสิทธิ์ สุนิมิตร (ผู้สัมภาษณ์),สำนักการสังคีต กลุ่มดุริยางค์ไทยโรงละครแห่งชาติ ถนนราชินี เขตพระนคร กรุงเทพฯ วันที่ 2 ตุลาคม 2559

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28