การเสริมพลังการทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • นันทพร ตรีคุณา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • กมลวรรณ วรรณธนัง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การเสริมพลังการทำงาน, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเสริมพลังการทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เปรียบเทียบการเสริมพลังการทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 315 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยการทดสอบด้วยค่าสถิติเอฟ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีแอลเอสดี โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษาพบว่า 1) การเสริมพลังการทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ รองลงมา ด้านการสร้างความเป็นหุ้นส่วน ด้านการพิทักษ์สิทธิ ด้านการเกิดมโนภาพในตนเอง ด้านแนวคิดประชาธิปไตยและการสร้างการมีส่วนร่วม ด้านการรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ด้านช่วยเหลือตนเอง และด้านการปลูกจิตสำนึก และ 2) เปรียบเทียบการเสริมพลังการทำงานของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยรวม พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และตำแหน่ง ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น อายุ และประสบการณ์ในตำแหน่ง แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่   ระดับ .05

References

กมลพรรณ พันพึ่ง. (2553). อัตลักษณ์ การเสริมพลังอำนาจ และการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง: การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการในสังคม. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสังคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เพียงพร กันหารี. (2551). แบบการเสริมสร้างพลังอำนาจอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุรชัย เจษฎาเกษมวิมล. (2550). การเสริมพลังของเกษตรกรชาวสวนยางในระบบการทำฟาร์มสวนยางขนาดเล็กที่มีไม้ผลร่วมในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อภิญญา เวชยชัย. (2555). การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อารีย์ ธวัชวัฒนานันท์. (2553). แนวทางการเสริมพลังอำนาจแก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

อุมาพร ห่านรุ่งชโรทร. (2551). การเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2 (ฉบับพิเศษ). หน้า 1-2.

Adam, Robert. (2002). Social Policy for Social Work. Basingstoke, England: Palgrve Ltd.

Clutterbuck, D. and Kernaghan, S. (1995). The Power of Empowerment, Release the Hidden Talents of Your Employees. London: Kogan Page.

Sasse, C.R. (1978). Person to Person. Peoria, Illinois: Benefit.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27