ส่วยผลเร่วเมืองสาละวัน ราชอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) ระหว่าง ค.ศ. 1826-1851

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ผลเร่ว, สาละวัน, ล้านช้าง

บทคัดย่อ

บทความเรื่องส่วยผลเร่วเมืองสาละวัน ราชอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) ระหว่าง ค.ศ. 1826-1851 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วยผลเร่วเมืองสาละวันในฐานะทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการค้าระหว่างประเทศในช่วงเวลาที่ราชอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) อยู่ภายใต้การปกครองของสยาม แรงงานในการเก็บผลเร่ว โครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเก็บส่วยผลเร่ว ปัญหาการรวบรวมส่วยผลเร่ว เส้นทางการลำเลียงส่วยผลเร่ว และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชนพื้นเมืองจากนโยบายการเก็บส่วยผลเร่วของสยาม ผลการศึกษาพบว่า ระหว่าง ค.ศ. 1826-1851 เมืองสาละวันเป็นหัวเมืองลาวที่ขึ้นตรงต่อสยาม มีหน้าที่ส่งส่วยผลเร่วให้แก่สยามเป็นประจำทุกปี ชนพื้นเมืองซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic Language Family) (มอญ-เขมร) (Mon-Khmer) เป็นแรงงานสำคัญในการเก็บผลเร่ว โดยมีเจ้าเมือง และข้าราชการทั้งฝ่ายลาวและฝ่ายสยาม เป็นผู้ควบคุมการเก็บผลเร่วและลำเลียงผลเร่วผ่านหัวเมืองใหญ่ส่งต่อยังไปกรุงเทพฯ เพื่อถวายพระมหากษัตริย์ไทย ก่อนส่วยผลเร่วจะกลายเป็นสินค้า และถูกป้อนสู่ตลาดการค้าระหว่างราชสำนักสยามกับพ่อค้าทั้งจากฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของอุษาคเนย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีนและอินเดีย อย่างไรก็ตาม    แม้เมืองสาละวันจะนำผลเร่วส่งให้สยามทุกปี แต่พบว่าอัตราส่วยผลเร่วไม่ครบตามที่ราชสำนักสยามกำหนด ส่งผลให้เกิดภาวะค้างส่วย เร่งรัดส่วย จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชนพื้นเมืองในเมืองสาละวัน

References

กหช. ร.3 เลขที่ 13 ชื่อ ใบบอกพระยาภิรมย์ราชา จ.ศ. 1192 (พ.ศ. 2373).

กหช. ร.3 เลขที่ 16 ชื่อ ใบบอกเมืองจำปาศักดิ์ จ.ศ. 1193 (พ.ศ. 2374).

กหช. ร.3 เลขที่ 57 ชื่อ ใบบอกพระยาภิรมย์ราชา จ.ศ. 1193 (2374).

กหช. ร.3 เลขที่ 21 ชื่อ ใบบอกหลวงอัครสุนทรเรื่องส่งเร่วส่วยและเงินทองเมืองลาวตะวันออก จ.ศ. 1193 (พ.ศ.2374).

กหช. ร.3 เลขที่ 34 ชื่อ บัญชีรายวันส่งส่วยเร่วหัวเมือง จ.ศ. 1193 (พ.ศ. 2374).

กหช. ร.3 เลขที่ 16 ชื่อ ร่างสารตราเจ้าพระยาจักรีถึงเมืองอุบล จ.ศ. 1194 (พ.ศ. 2375).

กหช. ร.3 เลขที่ 24 ชื่อ ใบบอกหลวงอัครสุนทรเสมียนตรามหาดไทย เมืองสระบุรี จ.ศ. 1194 (พ.ศ. 2375).

กหช. ร.3 เลขที่ 25 ชื่อ ใบบอกหลวงอัครสุนทร เสมียนตรามหาดไทย เมืองสระบุรี จ.ศ. 1194 (พ.ศ. 2375).

กหช. ร.3 เลขที่ 43 เรื่อง ร่างสารตราเจ้าพระยาจักรีถึงเมืองอัตปือ จ.ศ. 1194 (พ.ศ. 2375).

กหช. ร.3 เลขที่ 19 ชื่อ ใบบอกเมืองสาละวัน จ.ศ. 1195 (พ.ศ. 2376).

กหช. ร.3 เลขที่ 28 ชื่อ ใบบอกเมืองสาละวัน ส่งเงินผลเร่วส่วย จ.ศ. 1196 (พ.ศ.2377).

กหช. ร.3 เลขที่ 57 ชื่อ ใบบอกพระยาภิรมย์ ส่งผลเร่วเมืองสาละวัน จ.ศ. 1199 (พ.ศ. 2380).

กหช. ร.3 เลขที่ 18 ชื่อ ใบบอกเมืองสาละวัน บอกส่งผลเร้วส่วย จ.ศ. 1199 (พ.ศ. 2380).

กหช. ร.3 เลขที่ 52 ชื่อ ใบบอกเมืองฉะเชิงเทรา ส่งขี้ผึ้ง งาช้างส่วยเมืองสาละวัน จ.ศ. 1199 (พ.ศ. 2380).

กหช. ร. 3 เลขที่ 55 ชื่อ ใบบอกพระยาภิรมย์ราชา ส่งผลเร่วส่วยเมืองสาละวัน จ.ศ. 1200 (พ.ศ. 2381).

กหช. ร.3 เลขที่ 36 ชื่อ ใบบอกพระเอกราชาอุปหาด เมืองสาละวัน จ.ศ. 1201 (พ.ศ. 2382).

กหช. ร.3 เลขที่ 75 ชื่อ ใบบอกพระยาภิรมย์ราชา จ.ศ. 1202 (พ.ศ. 2383).

กหช. ร.3 เลขที่ 108 ชื่อ ใบบอกพระยาพิรมย์ราชา จ.ศ. 1202 (พ.ศ. 2383).

กจช. ร.5 มร.5 รล-สต/1. เมืองเชียงแตง เมืองอัตปือ เมืองสาละวัน เมืองคำทองใหญ่ เมืองนครจำปาศัก ฯลฯ ประกาศให้เจ้าเมืองกรมการทำบาญชีท้าวเพียตัวเลขซึ่งสมักอยู่เมิองนิไปเมืองโนน ให้หักดอนบาญชียตามจไพร่สมัก แลทำแผนเขตร แขวงบ้านเมือง วัน 5ฯ3 5 ค่ำ จ.ศ. 1147

กจช. ร.5 มร. 5 มท (ล)/10.

กจช. ร.5 มร. 5 มท (ล)/18 เลขที่ 76.

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2547). ราชอาณาจักรลาว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศยาม.

พิมพ์ปฏิมา นเรศศิริกุล. (2554). กระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของชนพื้นเมือง ในเมืองอัดตะปือ ราชอาณาจักรล้านช้าง (ลาว) ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24-25. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วราภรณ์ จิวชัยศักดิ์. (2547). นโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีระพงศ์ ยศบุญเรือง. (2546). การจัดเก็บภาษีในหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก พ.ศ. 2367-2433. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุวิทย์ ธีรศาสวัต. (2543). ประวัติศาสตร์ลาว 1779-1975. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.

หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร). (2512). ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์ ฉบับ หม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว. ปฐม คเนจร) ประชุมพงศาวดารภาคที่ 70 เล่ม 43 เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า (ตอนที่ 1) เรื่อง เมืองนครจำปาศักดิ์และขุนบรมราชา. พระนคร: องค์การค้าคุรุสภา.

เอเจียน แอมอนิเย. (2539). บันทึกการเดินทางในลาวภาคที่ 1 พ.ศ. 2438 Voyage dans le Laos Tome Premier 1985 (ทองสมุทร โดเร และสมหมาย เปรมจิตต์, แปล). เชียงใหม่: โครงการผลิตเอกสารส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สีสะเหลียว สะแหวงสึกสา และคณะ. (1989). พูมสาดลาว. เวียงจัน: สถาบันค้นคว้าวิดทะยาสาดสังคม.

สุเนด โพทิสาน. (2000). ปะหวัดสาดลาว (ดึกดำบัน-ปะจุบัน). เวียงจัน: โรงพิมแห่งลัด.

สูนกางแนวลาวส้างชาด. (2005). บันดาชนเผ่าใน สปป ลาว. เวียงจัน: กมชนเผ่า.

NAFRI, NUoL, SNV. (2007). Non-Timber Forest Products in the Lao PDR. A Manual of 100 Commercial and Traditional Products. Vientiane: The National Agriculture and Forestry Research Institute.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27