ทวิลักษณ์เชิงลักษณะในการจัดการความขัดแย้งและ การพัฒนาที่ดินของชุมชน

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต สุนทรวิกรานต์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดการ, ความขัดแย้ง, ที่ดิน, ชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งที่ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้ง ทั้งในเรื่องของนิยามความหมายและวิธีการจัดการความขัดแย้งที่น่าสนใจที่นักวิชาการชาวไทยและชาวต่างประเทศได้นำเสนอไว้ ทั้งนี้ประเด็นสำคัญคือ การเสนอแนวทางการจัดการความขัดแย้งที่มีชื่อว่า ทวิลักษณ์เชิงลักษณะในการจัดการความขัดแย้งและการพัฒนาที่ดินของชุมชน ซึ่งแนวทางนี้เหมาะกับการจัดการความขัดแย้งที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการทรัพยากรในประเภทที่เรียกว่า “ทรัพยากรร่วม” เช่น ที่ดิน ป่าไม้ ลำธาร ลำคลอง เป็นต้น โดยแนวทางข้างต้นมีหลักการสำคัญอยู่ 5 ประการคือ 1) ไม่ปฏิเสธการมีอยู่ของความขัดแย้ง 2) ความขัดแย้งต้องเกิดขึ้นจากความต้องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วม 3) ชุมชนมีความขัดแย้งกันทางความคิดและแบ่งออกเป็นสองฝ่ายชัดเจน 4) ต้องสร้างกลไกการจัดการความขัดแย้งที่ประกอบด้วยองค์กรที่เป็นขั้วตรงข้ามกันเพื่อทำหน้าที่ดูแลกติกาในการจัดการที่ดินหรือทรัพยากรร่วมรูปแบบอื่นและดูแลทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน และ 5) ชุมชนต้องมีสถานะเป็นนิติบุคคลและกฎหมายให้การรับรองกติกาในการจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชน

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์และคณะ. (2550). สันติ-สุขภาวะ สันติวิธีกับการจัดการความขัดแย้งในระบบสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)

ชัยเสฏฐ์ พรหมศิริ. (2550). การจัดการความขัดแย้งในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

นรินทร์ องค์อินทรีย์. (2549). การจัดการความขัดแย้ง. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.

บัณฑิต สุนทรวิกรานต์. (2558). การจัดการทรัพยากรร่วมในรูปแบบโฉนดชุมชนเพื่อรักษาพื้นที่เกษตรกรรม กรณีศึกษา ชุมชนสหกรณ์บ้านคลองโยง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พงษ์ทิพย์ สำราญจิตต์. (2556). โฉนดชุมชนจินตภาพที่จับต้องได้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลาคม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วรเดช จันทรศร. (2556). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). การจัดการความขัดแย้งและการขอโทษ. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2544) (25 ธันวาคม). มติคณะรัฐมนตรี 25 ธันวาคม 2544. การพิจารณาการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินราชพัสดุให้แก่สหกรณ์นิคมบ้านสร้างพัฒนา จำกัด.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2553ก) (30 มีนาคม). มติคณะรัฐมนตรี 30 มีนาคม 2553. ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2553ข) (12 ธันวาคม). มติคณะรัฐมนตรี 30 ธันวาคม 2553.การขายที่ดินราชพัสดุให้สหกรณ์การเช่าที่ดินคลองโยง จังหวัดนครปฐม.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2533). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ตะเกียง

Elinor Ostrom. (1990). Governing the Commons: The Evolution of Institutions for Collective Action. Cambridge: Cambridge University Press.

Suna Tekel. (2014). The Forgotten Name on the Relational Organization Theory: Mary Parker Follett. European Journal of Research on Education. 2 (Special Issue 6): 34-40.

M. Afzalur Rahim & Nace R. Magner. (1995). Confirmatory Factor Analysis of the Styles of Handling Interpersonal Conflict: First-Order Factor Model and Its Invariance Across Groups. Journal of Applied Psychology. 80: 122-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27

How to Cite

สุนทรวิกรานต์ บ. (2022). ทวิลักษณ์เชิงลักษณะในการจัดการความขัดแย้งและ การพัฒนาที่ดินของชุมชน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 4(2), 53–79. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260379