วาทกรรมการพัฒนา ภายใต้ความหมายใหม่ “ไทยแลนด์4.0”

ผู้แต่ง

  • เอนก รักเงิน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

วาทกรรมการพัฒนา, ไทยแลนด์ 4.0

บทคัดย่อ

จากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา รัฐไทยสมัยใหม่ที่สร้างกระบวนการครอบงำผู้คนภายในรัฐ ด้วยวาทกรรมการพัฒนาภายใต้ถ้อยคำต่างๆ ทั้ง คำว่า พัฒนา/การพัฒนาที่ยั่งยืน/ชุมชนเข้มแข็ง/เศรษฐกิจพอเพียง และในสมัยรัฐบาลประยุทธ จันโอชา ก็ได้ผลิตวาทกรรมการพัฒนาที่เรียกว่า “ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งถูกทำให้เชื่อได้ว่าไทยแลนด์ 4.0 จะทำให้ประเทศหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางได้ นั่นหมายความว่า คนไทยจะหลุดพ้นจากความยากจนด้วย ซึ่งการแก้ไขปัญหาความยากจน ถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมาโดยตลอด  แต่ตลอดระยะเวลา 60 ปี ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่า วาทกรรมการพัฒนาที่รัฐผลิตขึ้นมา ยังไม่มีนโยบายใดที่สามารถแก้ไขความยากจนได้เลย ยิ่งในยุคหลังเศรษฐกิจแบบพึ่งพาการส่งออกอย่างปัจจุบัน รัฐไทยได้วาดฝันว่า “ไทยแลนด์ 4.0” จะเป็นทางออกในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). พิมพ์เขียวThailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สำเนาpdf.

กับดักรายได้ปานกลาง. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2560. จาก https://laymaneconomicsblog.wordpress.com/World Bank Thailand.

จุดเปลี่ยนประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2560. จาก http://gotomanager.com/content/2560/

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2543). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542) วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพฯ (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. “ชุมชนในวาทกรรมการพัฒนา” ใน วารสารปาริชาติ 15 (ตุลาคม 2545 – มีนาคม 2546) ฉ2, หน้า74-82

ไทยรัฐออนไลน์. กลอนประเทศไทย 4.0 นายกฯแต่งเอง พ้อถ้าไม่ฟังคงต้องร้องลิเก. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2560 จาก https://www.thairath.co.th/content/985632

ไทยแลนด์ 4.0 วิสัยทัศน์ชาติที่ยังขาดรายละเอียด. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560. จาก http://www.bbc.com/thai/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). สรุปแนวโน้มเศรษฐกิจไทย. TN_MPC_220659

ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม. (2556). ห้าทศวรรษแห่งการเปลี่ยนแปลงภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2560 จาก http://www.moe.go.th/แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม

ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทย เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนประเทศไทย. มปป.

รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2560 จาก http://www.thaigov.go.th/news/contents/details/3981

วัชรพล พุทธรักษา. Gramsci: แนวคิดการครองอำนาจนำและกลุ่มประวัติศาสตร์.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2554 จาก http://www.midnight.org

สายชล สัตยานุรักษ์. การสร้าง ความเป็นไทย กระแสหลักและความจริงที่ความเป็นไทยสร้าง. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2549 จาก http://www.midnight.org

สำนักข่าวไทย. นายกฯย้ำนโยบายไทยแลนด์ 4.0 พัฒนาประเทศทันโลก. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2560. จาก http://www.tnamcot.com/view/

Anne Showstack Sassoon, "A Gramsci Dictionary," in Approaches to Gramsci, ed.: London, 1982.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-27