การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศิวิไล ปุริสังฆห์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์, ความผูกพันในองค์กร, แรงจูงใจในการทำงาน, บรรยากาศองค์กร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล บรรยากาศองค์กร และแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง 437 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Pearson’s product moment correlation coefficient) และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงเส้นรวมทั้งหาอำนาจการทำนายด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธี All Enter อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมและด้านการสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรมและการพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน ความผูกพันขององค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมและด้านความต้องการทางร่างกาย ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง ความต้องการทางสังคม ความต้องการได้รับการยกย่องและความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบรรยากาศองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับปานกลาง ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันขององค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยรวมและด้านความผูกพันด้านจิตใจ การคงอยู่ และบรรทัดฐานอยู่ในระดับปานกลาง

นอกจากนี้ยังพบว่า บรรยากาศองค์กร แรงจูงใจในการทำงานโดยรวมและแรงจูงใจด้านความต้องการทางร่างกาย ความต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นตัวแปรที่ทำนายความผูกพันในองค์กรโดยรวมของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าอำนาจการทำนาย เท่ากับ 46.31% (R2=0.4531) และ 39.78% (R2=0.3978) ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการสร้างบรรยากาศในองค์กร และแรงจูงใจต่อบุคลากรในองค์กร ด้วยการเพิ่มแรงกระตุ้น แรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินผลงานของผู้ปฏิบัติงานทำให้ผู้บริหารได้ทราบปัญหาในการทำงานว่างานที่มอบหมายให้นั้นบุคลากรมีความถนัดหรือเหมาะสมหรือไม่ การให้คำชื่นชม ยกย่อง ค่าตอบแทน การให้รางวัลหรือเกียรติบัตรแก่บุคลากรที่มีผลการปฏิบัติงานดี และมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร การให้ความใส่ใจเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงทั้งในขณะปฏิบัติงานและชีวิตส่วนตัวของบุคลากร ส่งผลให้บุคลากรมีความรู้สึกถึงการได้รับการยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

References

กรสรรค์ เอนกศักยพงศ์. (2556). กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐานิตา อ่วมฉิม และ มณฑา จำปาเหลือง. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อบรรยากาศองค์การของสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(3), 278.

ดำรง รัตนเวฬุ. (2547). บรรยากาศองค์การของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธัญญลักษณ์ บรรจงแก้ว. (2548). ความผูกพันต่อองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณีสำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยาพร ห้องแซง. (2555) . การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน สาขาธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พยอม วงศ์สารศรี. (2545). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สุภา.

อัจฉรา เฉลยสุข. (2556). อิทธิพลของบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรคุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจของลูกค้าต่อพนักงาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Steer & Porter L.(1997). Motivation and work behavior. New York : mcgraw-hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

How to Cite

ปุริสังฆห์ ศ. (2022). การบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 6(1), 127–150. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260347