มุสลิมชุมชนคลองตะเคียนและชุมชนสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา : การสำรวจเบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ ร้อยศรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ฟารุก ขันราม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ชาวไทยมุสลิม, ตำบลคลองตะเคียน, ตำบลสำเภาล่ม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชาวไทยมุสลิมตำบลคลองตะเคียนและตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่ชาวมุสลิมกลุ่มแรกที่ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งชาวมุสลิมได้มีการประกอบอาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารับราชการ การค้าขาย การทำเกษตรกรรมและการประมง เป็นต้น โดยชาวมุสลิมที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นมีหลากหลายเชื้อชาติ อาทิ ชาวเปอร์เซีย ชาวอาหรับ ชาวมลายูและชาวจาม เป็นต้น ชุมชนคลองตะเคียนและชุมชนสำเภาล่ม (คลองปทาคูจาม) จึงได้ชื่อว่าเป็นสองชุมชนมุสลิมที่เก่าแก่ของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่างๆ ที่เป็นมุสลิม ได้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยจนกลายเป็นชาวไทยแล้ว

จากการศึกษาภาษาพูดของชาวมุสลิมตำบลคลองตะเคียนและตำบลสำเภาล่ม จะมีทั้งศัพท์ภาษาไทย ภาษาอาหรับและภาษามลายูปะปนกันไปและเป็นที่เข้าใจกันอย่างดียิ่ง โดยถ้าผู้ใดมีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติศาสนกิจเป็นที่ประจักษ์และมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาการก็จะได้รับเลือกให้เป็นครูสอนศาสนา ทำให้ชาวคลองตะเคียนและชาวสำเภาล่มสามารถเรียนรู้ศาสนาและปฏิบัติศาสนกิจได้เป็นอย่างดี

References

กำพล จำปาพันธ์. (2559). อยุธยา จากสังคมเมืองท่านานาชาติสู่มรดกโลก ประวัติศาสตร์ศิลปกรรม วิถีชีวิต วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์. นนทบุรี : มิวเซียมเพรส.

คมขำ ดีวงษา. (2557). นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา : มรดกไทย – มรดกโลก. พระนครศรีอยุธยา : เอส-ซี-เจ-เอ็มซี.

จิดาพร แสงนิล. (2548). การศึกษาชุมชนมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 19-23). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิตรสิงห์ ปิยะชาติ. (2554). อยุธยา แผ่นดินประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมประวัติศาสตร์อาณาจักรอยุธยาที่คนไทยควรรู้. กรุงเทพฯ : ยิปซี.

นักศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ศึกษา ชั้นปีที่ 3 หมู่ที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2552). อำเภอพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์. (2544). อธิบายภูมิสถานกรุงศรีอยุธยา 417 ปี แลครั้งบ้านเมืองดี. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พลับพลึง คงชนะ. (2538). เจ้าพระยาบวรราชนายก กับ ประวัติศาสตร์สยาม. กรุงเทพฯ : ศูนย์วัฒนธรรม สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน.

สุภัทร สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง. (2530). ประวัติศาสตร์ตระกูลสุลต่านสุลัยมาน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.

สุวนัช ศรีสง่า. (2558). วารสารครบรอบ 70 ปี อิสลามศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา : โรงเรียนอิสลามศรีอยุธยามูลนิธิ.

อาณัติ อนันตภาค. (2557). สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา เรื่องราวของกลุ่มขุนนางไทยเชื้อสายแขกที่มีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ยิปซี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

How to Cite

ร้อยศรี ว., & ขันราม ฟ. (2022). มุสลิมชุมชนคลองตะเคียนและชุมชนสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา : การสำรวจเบื้องต้น. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 6(1), 1–18. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260334