แนวทางการบรรเลงบนพื้นฐานทฤษฎีของเชงเคอร์ ในบทเพลง 12 แฟนตาเซีย ลำดับที่ 1-3 ของเทเลมันน์

ผู้แต่ง

  • เอกวิชญ์ เรือจรูญ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

เชงเคอร์, แฟนตาเซีย, เทเลมันน์, การตีความ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการตีความหาแนวทางการบรรเลงและการฝึกซ้อม บทเพลง 12 แฟนตาเซีย สำหรับฟลูท ลำดับที่ 1-3 ประพันธ์โดยเทเลมันน์ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี
เชงเคอร์ในการอธิบายการตีความ เพื่อพิจารณาหาแนวทางการบรรเลงและการฝึกซ้อม ผลการวิจัยพบว่า แฟนตาเซีย ลำดับที่ 1 พบลักษณะเด่นทำนองเป็นลักษณะนำเสนอพื้นที่เสียง ทำนองซ้อน และลักษณะทำนองในอัตราจังหวะผสม แนวทางการบรรเลงและการฝึกซ้อมเน้นใช้เทคนิคการใช้ลม การใช้สำเนียงเสียงที่สนับสนุนโน้ตสำคัญ แฟนตาเซีย ลำดับที่ 2 เสนอความ การเคลื่อนทำนองของอาร์เปโจ ทำนองซ้อนที่เคลื่อนทำนองในช่วงเสียงที่ต่างกัน มีการประดับโน้ตบนพื้นฐานโครงสร้างทำนองที่น่าสนใจ แนวทางการบรรเลงและการฝึกซ้อมเน้นเทคนิคการใช้สำเนียงเสียง ให้เกิดความน่าสนใจ แฟนตาเซีย ลำดับที่ 3 ลักษณะเด่นทำนองแนวเดียวที่เน้นการเคลื่อนที่ทำนองสวยงาม และทำนองซ้อนทำนองดำเนินลักษณะการกระจายโน้ตที่มีการกระโดดของขั้นคู่เสียงที่กว้าง แนวทางการบรรเลงและการฝึกซ้อมเน้นความสำคัญกับการใช้สำเนียงให้เกิดความแม่นยำ และความคล่องตัว

References

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2552). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกศกะรัต, 2552.

ภาวไล ตันจันทร์พงศ์. (2555) การประดับโน้ตในยุคบาโร๊ค. วารสารดนตรีรังสิต. 7(1): 40-47.

อภิชัย เลี่ยมทอง. (2555). หลักสำคัญสำหรับการฝึกซ้อมดนตรีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด. วารสารดนตรีรังสิต. 7(1): 29-39.

Nakajima, A. K. (2013). Effects of Lessons in Schenkerian Analysis Upon Students’ Performance of tonal works. M.A. The Faculty of Graduate Studies, The University of British Columbia.

Pankhurst, T. (2008). Schenker GUIDE: A Brief Handbook and Website for Schenkerian Analysis. New York: Routledge.

Roseman, R. “Baroque Ornamentation.” สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560. จาก http://www.musebaroque.fr.

Telemann, G. P. (1955). Twelve Fantasias for Flute without Bass. Kassel: Bärenreiter.

Whittow, M. (1991). The Oboe A Reed Blown in the Wind. London: Puffit Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26

How to Cite

เรือจรูญ เ., & ตระกูลฮุ้น ว. (2022). แนวทางการบรรเลงบนพื้นฐานทฤษฎีของเชงเคอร์ ในบทเพลง 12 แฟนตาเซีย ลำดับที่ 1-3 ของเทเลมันน์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 6(2), 151–170. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/260328