70 ปีสงครามมหาเอเชียบูรพา: กับ 50 ปีแห่งความเงียบของอาชญากรรมสงคราม ว่าด้วยผู้หญิงผ่อนคลายชาวดัตช์ในอินโดนีเซีย

ผู้แต่ง

  • ตุลย์ จิรโชคโสภณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

ผู้หญิงผ่อนคลาย, ผู้หญิงผ่อนคลายชาวดัตช์, อาชญากรรมสงคราม

บทคัดย่อ

อาชญากรรมสงครามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หาได้จำกัดในรูปแบบการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อย่างเช่นเหตุการณ์ เดอะ ฮอโลคอสต์ (The Holocaust) หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว และเหตุการณ์หนานจิง ต้าถูซา (การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่นานกิง) เท่านั้น งานเขียนของไอริส จาง (Iris Chang) เรื่อง The Rape of Nanking ยังได้ระบุถึงนโยบายผู้หญิงผ่อนคลาย (Comfort Woman) ซึ่งเป็นการบังคับหญิงพื้นเมืองในจีน เกาหลี ให้มาเป็นโสเภณีประจำกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นมักจะปฏิเสธถึงการมีส่วนร่วมของกองทัพญี่ปุ่นต่อนโยบายผู้หญิงผ่อนเสมอมา จนกระทั่งวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1993 เมื่อนายโยเฮอิ โคโนะ (Yohei Kono) หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้กล่าวคำแถลง (Kono Statement) ยอมรับว่ากองทัพญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการบังคับผู้หญิงจากจีน, เกาหลีให้เป็นผู้หญิงผ่อนคลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลให้อดีตผู้หญิงผ่อนคลายจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวและเปิดเผยเรื่องราวให้โลกได้ทราบถึงอาชญากรรมสงครามดังกล่าว โดยเฉพาะ ยาน รัฟ โอ เฮอร์เน (Jan Ruff-O’Herne) อดีตผู้หญิงผ่อนคลายชาวดัตช์ คนแรกที่ออกมาเปิดเผยถึงกรณีหญิงผ่อนคลายชาวดัตช์ในอินโดนีเซีย โดยการเขียนหนังสือเรื่อง Fifty Years of Silence

References

ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2547). อินโดนีเซีย รายา: รัฐจารีต สู่ “ชาติ” ในจินตนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

ไอริส จาง แปลโดย ฉัตรนคร องคสิงห. (2549). หลั่งเลือดที่นานกิง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Argibay, M, Carmen. (2003). Sexual Slavery and the Comfort Women of World War II”. Berkeley Journal of International Law. 21(2): 375 – 389

Kimura, Maki. (2003). Listening to Voices: Testimonies of Comfort Women of The Second World War. Gender Institute. 8: 1-31

Kotler, Mindy. (2014). The Comfort Women and Japan’s War on Truth. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.nytimes.com/2014/11/15/opinion/comfort-women-and-japans-war-Lee.

Sue R. (2003). Comforting the comfort women: Who make japan pay? สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2561 จาก https://scholarship.law.upenn.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1256&context=jil.

Ministry of Foreign Affairs Japan. (1993). Statement by the Chief Cabinet Secretary Yohei Konoon the result of the study on the issue of "comfort women. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2561 จาก http://www.mofa.go.jp/policy/women/fund/state9308.html.

O’Herne Ruff, Jan. (2011). Fifty Years of Silence. Pune: Mehta Publishing House.

Poelgeest, Bart van. (1994). Report of a Study of Dutch Government Documents on the Forced Prostitution of Dutch Women in the Dutch East Indies during the Japanese Occupation. สืบค้นเมื่อ 29 ธันวาคม 2561 จากhttp://www.awf.or.jp/e1/indonesia.htm.

Tanaka, Yuki. (2002). Japan’s Comfort Women Sexual slavery and prostitution during World War II and the US occupation. New York: Routledge.

The United Nations War Crimes Commission by his majesty Stationery Office. (1949). Law Report of War Criminal: Selected and prepared by The United Nations War Crimes Commission. London: The United Nations War Crimes Commission.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01