แนวทางการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายงาน เทเลมาร์เก็ตติ้ง บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน)
คำสำคัญ:
การทำงานเป็นทีม, สายงานเทเลมาร์เก็ตติ้ง, บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน)บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของ พนักงานสายงานเทเลมาร์เก็ตติ้ง บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) (2) เปรียบเทียบ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายงานเทเลมาร์เก็ตติ้ง บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) จำแนกตามระดับการศึกษา ระยะเวลาในการทำงาน และตำแหน่งงาน (3) ศึกษาแนวทางการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายงานเทเลมาร์เก็ตติ้งบริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยตารางสำเร็จรูปของ ศิริชัย กาญจนวาสี (อ้างถึงใน ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, ดิเรก ศรีสุโข, 2551 : 150) และใช้ วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้น และได้ ทำการทดสอบค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยวิธีของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.959 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่า t test และการวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว OneWay ANOVA
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) พนักงานมีพฤติกรรมการทำงานเป็นทีมในภาพรวม และรายด้านได้แก่ การมีเป้าหมายร่วมกัน การร่วมมือและการทำงานร่วมกันในทีมงาน การติดต่อสื่อสารในทีมงาน การจัดการความขัดแย้งในทีมงาน ความไว้วางใจในทีมงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก (2) พนักงานที่มีระดับ การศึกษา ระยะเวลาในการทำงานและตำแหน่งงานต่างกันมีพฤติกรรมการทำงานเป็น ทีมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางการทำงานเป็นทีมของพนักงานสายงานเทเลมาร์เก็ตติ้ง ให้มีการจัดการค่าตอบแทนร่วมกัน รับฟังปัญหา กำหนดเป้าหมายร่วมกัน จัดกิจกรรมเพื่มเสริมความสามัคคี และปรับปรุงเครื่องมือใน กระบวนการทำงาน พร้อมทั้งช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม
References
แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2555). การให้คำปรึกษาและแนะนำ : HRM 4317 (HR 413). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
ชูศักด์ เจนประโคน และ กาญจนาทเรืองวรากร. (2556). แรงงานสัมพันธ์และการ จัดการธุรกิจอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำแหง.
ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2553). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สหธรมิก.
ธีรเดช ริ้วมงคล. (2556). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2555). การจัดการองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: บจก.ทริปเพิ้ลกรุ๊ป
พัณศา คดีพิศาล. (2553). ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงานบริษัท เวิลด์ พลาสจำกัดและบริษัทในเครือ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มนัสนันท์ สุริยะนาการณ์. (2556). พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของบุคลากร กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิตการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพมหานคร: บจก.บพิธการพิมพ์.
วิภาส ทองสุทธิ์. (2552). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อินทภาษ.
วิเชียร วิทยอุดม. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บจก.ธนธัช การพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, ดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติที่ เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สมพร สุทัศนีย์. (2551). พฤติกรรมน่ารัก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุธรรม รัตนโชติ. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บจก. สำนักพิมพ์ท้อป.
สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา. (2554). การประเมินผลงานพนักงานภาคปฏิบัติ พร้อม ตัวอย่างแบบประเมิน. นนทบุรี: บจก.ธิงค์บียอนด์บุ๊คส์.
อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์. (2556). จิตวิทยาการเรียนรู้ : PSY 2001 (PC 207). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัจฉรา ชุนณะวงค์(2553). การศึกษาการทำงานเป็นทีมของผู้บริหารโรงเรียนตามความ คิดเห็นของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ สาขาครุศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
Brian J. H. (2006). Performance Management. Boston. Harvard Business School.
Hitt A.M., Ireland D.R., and Hoskisson E.R. (2005). Strategic Management. United States of America: Thomson.
Stephen P. and Robbinsand M.C.(2007). Management.Bangkok.Pearson Education Indochina Ltd.
Woodcock, M. (1989). Team development for Manual. 2d ed. Brookfield, Vermont: Gower. Woodcock, M.and Francis, D. (1994).Teambuilding Strategy. Hampshire: Gower.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา