ร่อยรอยของภาษาลาวเวียงในชุมชนบ้านลาว ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ดาราพร ศรีม่วง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ร่องรอยของภาษา, ลาวเวียง, ชุมชนบ้านลาว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการรวบรวมและการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กับภาษาด้านคำศัพท์ของกลุ่มคนชาติพันธุ์ลาวเวียง ในชุมชนบ้านลาว ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ผู้บอกภาษาเป็นชาวลาวเวียง อายุ 50 ปีขึ้นไป ที่ยังรู้ภาษา ลาวเวียงและสามารถสื่อสารได้ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูล ด้วยการใช้ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม 2. แบบเก็บข้อมูลทางภาษาและวัฒนธรรม และ 3. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

ผลการวิจัยพบว่า ร่องรอยภาษาลาวเวียงในชุมชนบ้านลาวนั้น ปรากฏในรูป ของคำศัพท์บางคำ และเสียงบางเสียง ซึ่งมีเค้าของความเป็นภาษาลาวเวียงอยู่ คำศัพท์ ภาษาลาวเวียงเหล่านี้ชาวลาวเวียงบางคนใช้สื่อสารกันในกลุ่มย่อย ๆ เฉพาะโอกาสสำคัญ และอยู่ในรูปแบบของคำศัพท์และความทรงจำ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ใช้สื่อสารหลักในชีวิตประจำวัน

References

กันทิมา วัฒนะประเสริฐ และสุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2540). วิเคราะห์การใช้คำและการแปรของภาษาของคนสามระดับอายุในชุมชนภาษาลาวลุ่มน้ำท่าจีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คณาจารย์ภาควิชาภาษาศาสตร์. (2543). พจนานุกรมลาว – ไทย – อังกฤษ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทรงพล ต่วนเทศ. (2556). การศึกษาภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองของคนไทยเชื้อสาย ลาวครั่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท และอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญา การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2531). ภาษาถิ่นตระกูลไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัลลียา วัชราภรณ์. (2534). การศึกษาค าลงท้ายในภาษาลาวครั่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

วรรณพร บุญญาสถิต ฉันทัส เพียรธรรม และเทพธิดา ศิลปรรเลง. (2559). รายงานวิจัย เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26