โครงการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมเพื่อสะท้อนผลเสีย จากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมมนุษย์, สื่อสังคมออนไลน์, จิตรกรรมบทคัดย่อ
บทความเรื่อง โครงการสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมเพื่อสะท้อนผลเสียจากการใช้ สื่อสังคมออนไลน์ (social media) ที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลเสียจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ และนำไปสู่การสร้างสรรค์ จิตรกรรมเพื่อสื่อความหมายและสะท้อนปัญหาดังกล่าวที่มีความสำคัญต่อสังคมใน ยุคปัจจุบัน ผลการศึกษาปัญหาสภาพการเสพติดการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในสังคมปัจจุบัน สามารถสรุปได้ถึงผลเสียจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมมนุษย์ แบ่ง ออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ การแยกตัวออกจากสังคม ครอบครัวแตกแยก และสุขภาพ ทรุดโทรม โดยผู้สร้างสรรค์ได้วิเคราะห์ถึงเนื้อหา เพื่อค้นหาแนวทางในการสร้างสรรค์ โดยกำหนดเป็นแนวคิดเพื่อนำเสนอในรูปแบบของภาพพฤติกรรมมนุษย์ โดยใช้ สัญลักษณ์ภาพจากกล่องที่เป็นตัวแทนของการปิดกั้น ปกปิด การแยกตัวออกจากสังคม และสภาพบรรยากาศที่มีความหม่นมัว และใช้แสงไฟจากอุปกรณ์สื่อสารเพื่อเน้นถึง ผลเสียที่แสดงออกผ่านใบหน้าเด็กหญิงที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เพื่อเน้นให้เห็นถึง ความสำคัญของปัญหาผลเสียจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและ คนรอบข้าง และควรตระหนักถึงการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในปริมาณที่เหมาะสม
References
ข่าวประชาสัมพันธ์. (2560). สังคมก้มหน้า”ภัยเงียบทำร้ายความสัมพันธ์คนไทย. สืบค้น เมื่อ 24 สิงหาคม 2561. จาก https://www.thairath.co.th/content/858105.
เจตนา แสวงนาม และวิโรจน์ อินทนนท์. (2561). แนวคิดในงานสุนทรีศาสตร์ในงาน จิตรกรรมของ ปาโบล ปิกัสโซ. วารสารปณิธาน : วารสารวิชาการด้านปรัชญา และศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 14(2)
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2561). ศิลปะสะท้อนสังคมโลก ทั้งคนและธรรมชาติที่เจ็บป่วย. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2561. จาก https://www.thairath.co.th/content/1186778
พศิน เวียงแก้ว. (2559) จิตรกรรมสร้างสรรค์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
อัมรินทร์ บุพศิริ. (2551). พฤติกรรมการเลียนแบบ. ศิลปนิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปะ บัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
Angsiyanat Sichan. (2561). ผลกระทบของ social media. สืบค้นจาก : https://sookjai.me/contents/1785. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ.2561
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา