หมะเมียะ : อุดมการณ์ทางสตรีเพศผ่านแนวคิด การวิเคราะห์ระบบข้อความเชิงวิพากษ์

ผู้แต่ง

  • เนตรนิภา เจียมศักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

หมะเมียะ, อุดมการณ์, สตรีเพศ, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์

บทคัดย่อ

หมะเมียะเป็นหนึ่งในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ล้านนา หมะเมียะเป็น ตัวแทนของสตรีในทางอุดมคติ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อค้นหาอุดมการณ์ทางสตรี เพศที่กฎอยู่ในวรรณกรรม อิงประวัติศาสตร์ล้านนา 2) เพื่อให้เกิดการตระหนักถึง ความสำคัญของอุดมการณ์ทางสตรีเพศที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ ล้านนา โดยมีการเก็บข้อมูลจากบทละครเรื่อง “หมะเมียะ” เรียบเรียงโดยจีริจันทร์ ประทีปะเสน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของนอร์แมน แฟร์เคลาฟ์ ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวาทกรรมกับบริบททางสังคม มุ่งศึกษาตัวบท วิถีปฏิบัติทางวาทกรรม และวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่ามีอุดมการณ์ ทางสตรีเพศ ซึ่งแบ่งได้ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) ประเด็นเกี่ยวกับความงามของสตรี 2) ประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติสตรี และ 3) ประเด็นเกี่ยวกับบทบาทและสถานภาพของ สตรี ในฐานะ บุตรลูก และภรรยา

References

กนกพรรณ วิบูลยศริน. (2547). การเปรียบเทียบภาพตัวแทนของผู้หญิงสมัยใหม่และ หลังสมัยใหม่ในภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์อเมริกัน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีริจันทร์ ประทีปะเสน.(2547). หมะเมียะ. เชียงใหม่: ธนบรรณ.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2546). 100 ปีแห่งรัก : หมะเมียะ-เจ้าศุขเกษม (พ.ศ. 2446- 2546). เชียงใหม่: สถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่.

ศิริรัตน์ อาศนะ (2529). สตรีในวรรณกรรมล้านนา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สาวิตรี คทวณิช. (2549). วาทกรรมศึกษาเพื่อการวิจัยทางสังคม: กรอบทฤษฎีเพื่อการวิจัยเชิงประจักษ์ใน กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมณ์ และจันทิมา เอียมานนท์. มองสังคมผ่านวาทกรรม. หน้า 23-48. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fairclough, N. (1995). Critical Discourse Analysis. London: Longman.

Fairclough, N. (2000a). Discourse, Social Theory and Social Research: The Discourse of Welfare Reform. Journal of Sociolinguistics 4 (2), 163- 195.

Lazar, M.M. (2005). Feminist CDA as Political Perspective and Praxis, in M.M. Lazar (ed.), Feminist Critical Discourse Analysis. Gender, Power and Ideology in Discourse, Basingstoke: Palgrave Macmillan, 1-28.

Lentonen, S. (2007). Feminist Critical Discourse Analysis and Children’s Fantasy Fiction Modelling a new approach. Paper presented at “Past, present, future- From woman’s studies to post-gender research”, Sweden.

Van Dijk, T.A. (1993a) Elite Discourse and Racism. Newbury Park, CA: Sage.

Van Dijk. (1993b) Discourse, Power and Access, in C.R. Caldas (ed.) Studies in Critical Discourse Analysis. London: Routledge (in press).

วารุณี ภูริสินสิทธ์. (2545). แนวคิดสตรีนิยมในสตรีในสกุลความคิดต่าง ๆ. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562. จาก http://www.midnightuniv.org/datamid2001/newpage17.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26