พื้นฐานแนวคิดสัญวิทยาของโรล็องด์ บาร์ตส์

ผู้แต่ง

  • คมลักษณ์ ไชยยะ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนและสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

สัญวิทยา, การสื่อความหมาย, วัตถุสื่อความหมาย, วาทศิลป์ และโรล็องด์ บาร์ตส์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีเป้าหมาย เพื่ออธิบายพื้นฐานแนวคิดสัญวิทยาเชิงโครงสร้างของ โรล็องด์ บาร์ตส์ต์ นักวิชาการชาวฝรั่งเศสผู้บุกเบิกการศึกษาสัญวิทยาวัฒนธรรม โดยสรุป สาระสำคัญมาจากผลงานบางชิ้นของเขาที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อทำความ เข้าใจระบบการทำงานของสัญญะ การสื่อความหมาย และวาทศิลป์ของสัญญะ ซึ่ง ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างที่ส่งผลต่อการสื่อความหมายของวัตถุทางวัฒนธรรมต่างๆ ได้ สำหรับบทความนี้ได้อาศัยตัวอย่างที่แสดงวิธีการวิเคราะห์วาทศิลป์ของสัญญะผ่าน การศึกษาภาพถ่ายโฆษณา และเครื่องแต่งกายแฟชั่นจากผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา จาก การวิเคราะห์ของบาร์ตส์ได้แสดงให้เห็นว่าวัตถุสื่อความหมายทางวัฒนธรรมที่ดูเหมือนจะเรียบนิ่งเฉยไม่เคลื่อนไหว ดังเช่น ภาพถ่ายโฆษณาและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายแฟชั่น แต่ ทว่ากลับแฝงเร้นไปด้วยความหมายที่อยู่เบื้องหลัง โดยมีวาทศิลป์ของสัญญะ ซึ่งทำหน้าที่ กลบเกลื่อนให้ดูเหมือนเป็นไปโดยธรรมชาติ ทำให้เกิดการยอมรับหรือชื่นชอบในสินค้า เพื่อการบริโภคได้โดยง่าย ด้วยเหตุนี้การศึกษาแนวคิดสัญวิทยาของโรล็องด์ บาร์ตส์ จึง ช่วยให้เกิดความตระหนักรู้และเท่าทันต่ออิทธิพลของวัฒนธรรมบริโภคนิยมในปัจจุบันได้ เป็นอย่างดี.

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2555). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยม กับ การศึกษารัฐศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิภาษา.

ธีรยุทธ บุญมี. (2551). การปฏิวัติสัญศาสตร์ของโซซูร์ เส้นทางสู่โพสต์โมเดอร์นิสต์. กรุงเทพฯ: วิภาษา.

นพพร ประชากุล. (2552) [2542]. “สัญศาสตร์กับวรรณกรรม.” ในยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: ออฟเซท ครีเอชั่น จำกัด, น.319-328.

นพพร ประชากุล. (2544). “โรล็องด์ บาร์ตส์กับสัญศาสตร์วรรณกรรม” ในมายาคติสรร นิพนธ์จาก Mythologies ของ Roland Barthes. แปลจากภาษาฝรั่งเศส โดยวรรณพิมล อังคศิริสรรพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.

Barthes, Roland. (1970). Writing Degree Zero And Elements of Semiology. Translated from the French by Annette Lavers and Colin Smith. Boston: Beacon Press.

Barthes, Roland. (1972). Mythologies. Selected and translated from the French by Annette Lavers. New York: The Noonday Press.

Barthes, Roland. (1977). “Rhetoric of Image.” In Image Music Text. Trans. Stephen Heath. New York: Hill and Wang, pp. 32-51.

Barthes, Roland. (1982). “The Imagination of the Sign” In A Barthes Reader. ed. Susan sontag, Translated from the French. New York: Hill and Wang, pp. 211-217.

Barthes, Roland. (1990). The Fashion System. Translated from the French by Matthew Ward and Richard Howard. Los angeles: University of Californaia Press.

Baudrillard, Jean. (2006) [1983]. “ The Precession of Simulacra,” in John Storey (ed). Cultural Theory and Popular Culture: A Reader, 3rd Edition. Harlow: Pearson Education Limited.

Hall, Stuart. (1997). Representation: Cultural Representation and Signifying Practices. London: Sage Publications.

Levi-Strauss, Clude. (1969). The Elementary Structures of Kinship. Revised edition trans. from the French by James HarleBell, John Richard von Sturmer, and Rodney Needham,ed. Boston: Beacon Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-26

How to Cite

ไชยยะ ค. (2022). พื้นฐานแนวคิดสัญวิทยาของโรล็องด์ บาร์ตส์. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 7(2), 27–62. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/258769