การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การแข่งขันทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย
คำสำคัญ:
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, การแข่งขันทางเศรษฐกิจบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การ แข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิจัยเชิงวิเคราะห์เอกสาร แล้วบรรยายสรุปด้วยวิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้การแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศไทย 5 ด้าน พบว่า 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืนมีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ตาม คุณลักษณะของผู้นำ สร้างบุคคลากรสัมพันธ์แบบใหม่ โดยการบริหารทุนมนุษย์ด้วยการ ให้บทบาทกับผู้บริหาร 2) การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มีการพัฒนา และเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิตและ ประสิทธิภาพในการทำงาน นำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามา ประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี ทั้งในด้านการบริหาร และการปฏิบัติงาน 3) การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความรู้ พัฒนาความรู้ให้มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลง สร้างองค์ความรู้ใหม่อยู่ตลอดเวลา พัฒนาทักษะจากการอบรมให้เกิดความเชี่ยวชาญอย่างมีประสิทธิภาพและมีศักยภาพ 4) วิจัย และพัฒนาบุคลากร มีการศึกษาและออกแบบสร้างระบบพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ ใหม่ ๆ กระตุ้นให้เกิดการทำงานที่มีคุณภาพ มุ่งเน้นในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ การหาผลิตภัณฑ์หรือวัตถุดิบใหม่ ๆ 5) กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีการวางแผน เชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ นำ องค์กรสู่ความเป็นเลิศ ระดมสมองกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ออกแบบกิจกรรมการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการกำหนดกลยุทธ์ แผนงาน/กิจกรรม/โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
References
กัญญามน อินหว่าง. (2562). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการพัฒนาองค์การ,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/accessibility/ helps.html สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562.
จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). เอกสารประกอบการสอน วิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
จุฑามณี ตระกูลมุทุตา. (2562). “แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.hrdbridge.com สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562.
ธเนศ ยุคันตวนิชชัย. (2560, มกราคม-มิถุนายน). “การจัดการทรัพยากรมนุษย์ใน เศรษฐกิจยุคใหม่,” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8(1) : 31.
พัชรินทร์ คณิตชรางกูร. (25601). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสํานักงานทหารพัฒนา หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทยเพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย- ธรรมศาสตร์.
พัลลภา เอี่ยมสะอาด. (2552). การสร้างระบบการบริหารจัดการคนเก่งของกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภัทร พจน์พานิช. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ์. (2551). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับการพัฒนาประเทศใน อนาคต,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/daily/detail/9510000082330 สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562.
สนั่น เถาชารี. (2562). “การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงองค์รวม,” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/accessibility/helps.html สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2562.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2550). จุดเปลี่ยนประเทศไทย เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. กรุงเทพมหานคร : สยาม เอ็ม แอนด์ บี พับลิซซิ่ง. อำนาจ วัดจินดา. (2562). การพัฒนาทรัพยากมนุษย์ในยุคที่มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
Brookfield. ( 1990). Human Resource Development. NY : Harper Collins Publisher. Cherrington, J. D. (1995 ) . Organization behavior the management of individual and Organization performance. Boston, MA : Allyn and Bacon.
Kolb David. A. (1984). Organization Behavior : An Experiential Approach. New Jersey : Prentice-Hall.
Nesmith, Mary Jo Elizabeth. Michael J. Marquardt & Dean W. Engel. (1993) . Global Human Resource Development. New. Jersey : Englewood.
Nadler (1980). Corporate Human Resource Development. NewYork : Van.Nostrand Reinhold.
Pace, P et al. (1991). Longman dictionary of contemporary english. Holland : Rotatie Boekendrunk B.V.
Sigelman, J & Shaffer, R. (2003) . The Health-Related functions of social support. New. Jersey : Englewood.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา