เชิดฉิ่งแผลงศร คณะละครสำเนียง ป่าโมก

ผู้แต่ง

  • เขมวันต์ นาฏการจนดิษฐ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • รจนา สุนทรานนท์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คำรณ สุนทรานนท์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุทธิพร บุญส่ง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

เชิดฉิ่งแผลงศร เป็นการแสดงประเภทรำเดี่ยวตัวพระ ของคณะละครสำเนียง ป่าโมก สำหรับแผลงศรเพื่อเสี่ยงทาย  หรือลองฤทธานุภาพของศร เชิดฉิ่งแผลงศร นิยมใช้ในการแสดงละคร 3 เรื่อง คือ ลักษณวงศ์, สังข์ศิลป์ชัย และโกมินทร์ นางบุญเตือน เฉลยโชติ เป็นผู้สืบทอดกระบวนท่ารำ โดยการร่วมฝึกซ้อมกับนางละครรุ่นพี่ในวัยเด็ก การแสดงชุดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานผู้ประดิษฐ์ท่ารำ ลำดับขั้นตอนการแสดงแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ตัวละครแต่งกายให้เกิดความรัดกุมในการใช้อาวุธ 2) ตัวละครหาเป้าหมายในการแผลงศร 3) ตัวละครน้าวศรเพื่อเตรียมแผลงศรไปที่เป้าหมาย และ 4) ตัวละครแผลงศรไปที่เป้าหมาย ทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงรำเชิดฉิ่งแผลงศร ใช้ทำนองเพลงเชิดฉิ่ง ในขั้นตอนที่ 1-3 และใช้ทำนองเพลงรัว ในขั้นตอนที่ 4 ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าบรรเลงประกอบการแสดง กระบวนท่ารำ ประกอบด้วยการใช้อาวุธคือคันศรและลูกศร ผู้แสดงเป็นตัวเอกของเรื่อง หรือพระเอกของเรื่อง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีฝีมือในการแสดง การแต่งกายผู้แสดงแต่งกายตามลักษณะของตัวละคร    ปัจจุบันการแสดงรำเชิดฉิ่งแผลงศร อยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญหาย เนื่องจากขาดผู้สืบทอด จึงสมควรแก่การอนุรักษ์ และสืบทอดให้กับชนรุ่นหลัง เนื่องจากเป็นการแสดงที่บ่งบอกถึงภูมิปัญญาของนาฏศิลปินท้องถิ่น

References

กนก คล้ายมุข, ศุภชัย จันทร์สุวรรณ, นิภา โสภาสัมฤทธิ์, และพินิตร์ กลับทวี. (2550). ละครชาตรีในจังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะdรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ.

กรมศิลปากร. (2555). 101 ปี ละครวังสวนกุหลาบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ (จำกัด) มหาชน.

ชวลิต สุนทรานนท์. นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ (โขน ละคร และดนตรี). สัมภาษณ์, 25 ธันวาคม 2564.

ชวลิต สุนทรานนท์. นักวิชาการละครและดนตรีทรงคุณวุฒิ (โขน ละคร และดนตรี). สัมภาษณ์, 8 มกราคม 2565.

บังอร โพธิสุวรรณ. อดีตนางละครของคณะละครสำเนียง ป่าโมก. สัมภาษณ์, 25 ธันวาคม 2564.

บุญช่วย ภู่สวรรค์. (17 มกราคม 2565). ละครรำคณะสำเนียง ป่าโมก ดูดีมีมาตรฐานในการป้องก้นเชื้อไวรัส COVID-19 [เพจเฟซบุ๊ก]. เฟชบุ๊ก. https://www.facebook.com

บุญเตือน เฉลยโชติ. ผู้สืบทอดกระบวนท่ารำเชิดฉิ่งแผลงศรและผู้สืบทอดคณะละครสำเนียง ป่าโมก คนปัจจุบัน. สัมภาษณ์, 28 กันยายน 2564ก.

บุญเตือน เฉลยโชติ. ผู้สืบทอดกระบวนท่ารำเชิดฉิ่งแผลงศรและผู้สืบทอดคณะละครสำเนียง ป่าโมก คนปัจจุบัน. สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม 2564ข.

วงปี่พาทย์เครื่องห้า. (17 มกราคม 2565). [เพจเฟซบุ๊ก]. เฟชบุ๊ก. https://www.facebook.com.

วัชนี เมษะมาน. (2543). ประวัติและผลงานนาฎยประดิษฐ์ของครูลมุล ยมะคุปต์: กรณีศึกษาระบำพม่า-มอญ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30