กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการ ในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา
DOI:
https://doi.org/10.14456/husoaru.2021.5คำสำคัญ:
กลยุทธ์การตลาด, ธุรกิจร้านยา, ผู้ประกอบการบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการร้านยาคุณภาพในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติการทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 36-45 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่พิจารณาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคลากร และด้านราคาโดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก และกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ กลยุทธ์ด้านราคา ด้านเฉพาะเจาะจงเป้าหมาย และด้านความแตกต่าง 2) ผลการเปรียบเทียบกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลบางปัจจัย เช่น อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีผลต่อกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาแตกต่างกัน และ 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจร้านยาคุณภาพของผู้ประกอบการในเขตอำเภอพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีค่าความสัมพันธ์สูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านราคา และด้านกระบวนการ
References
จรรยารัตน์ ทะมังกลาง. (2554). การวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายของร้านขายยาคุณภาพจรรยารัตน์เภสัช จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทรรศวรรณ ซิววิว. (2554). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเปิดร้านยาคุณภาพในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นาถชิดา ธนะฐากรกุล. (2557). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อร้านขายยาในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นำพร อินสิน. (2553). ความตระหนักของผู้บริโภคในการเข้ารับบริการร้านยาตาม มาตรฐานร้านยาคุณภาพ และความคิดเห็นของผู้ประกอบการร้านยาเกี่ยวกับโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาในพื้นที่ตำบลธาติเชิงชุม จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศีลจิตร อินทรพงษ์. (2558). ยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจร้านยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ธุรกิจร้านขายยา. สืบค้น 12 มกราคม 2563, จาก http://www.phamacytgai.co.th//content.php?data=689917-opinion
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2562). ร้านยาคุณภาพ. สืบค้น 9 มกราคม 2563, จาก http://www.fda.moph.co.th//content.php?data=336604-opinion
สุภาพร ละมั่งทอง. (2556). องค์ประกอบการดำเนินธุรกิจร้านขายยาที่ยั่งยืนในทัศนะของผู้ประกอบการ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ และไม่ได้เป็นทัศนะและความรับผิดชอบของ กองบรรณาธิการ หรือ ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา